จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

 

                 จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูตรเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงเป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชชนนี กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสกสมรสกับ แม้น บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒนพิพัฒนศักดิ์ ( วร บุนนาค )

การศึกษา                      - ทรงเล่าเรียนหนังสือเบื้องต้นจากสำนักครูผู้หญิงในตำหนักหลังนอกของพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.๒๔๐๙
                                         - เรียนภาษาขอมและบาลีจากสำนักพระยาปริยัติธาดา เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔
                                         - ทรงเล่าเรียนวิชาทหาร ในสำนักกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕
                                         - ทรงเรียนภาษาอังกฤษในสำนักมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน แห่งโรงเรียน ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖
                       
ตำแหน่งหน้าที่ และศักดิ์     
                                         - พ.ศ.๒๔๑๓  
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารพิเศษ (นายร้อยโท)
                                         - พ.ศ.๒๔๑๘  - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายพันโท (ยศพิเศษ) ,เมื่อพระชนม์พรรษา ๒๐ ปี ทรงเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารหน้าแต่งเครื่องแบบยศนายพันเอก ,ในปีต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มียศเป็นนายพันโทแต่งพระองค์ได้เหล่าทหารราบ และทหารม้า
                                         - พ.ศ.๒๔๒๐ อธิบดีกรมล้อมวัง บังคับบัญชากรมทหารมหาดเล็ก
                                         - พ.ศ.๒๔๒๑ นายทหารพิเศษ ในกรมทหารม้า
                                         - พ.ศ.๒๔๒๒ ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็ก
                                         - พ.ศ.๒๔๓๐ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับราชการทั่วไป และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเป็นนายพันเอกทหารบก
                                         - พ.ศ.๒๔๓๒ นายพันเอก
                                         - พ.ศ.๒๔๓๓ เสนาบดีว่าการกระทรวงยุทธนาธิการ
                                         - พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๓๙ และ พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๔๔ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
                                         - พ.ศ.๒๔๔๔ ทรงได้รับตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และได้ทรงเป็นผู้รับตำแหน่งผู้บังคับบัญชาทหารเรือเพิ่มขึ้นในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง
                                         - พ.ศ.๒๔๔๕ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (ถึงปี ๒๔๔๖ ทรงพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ)
                                         - พ.ศ.๒๔๔๖ นายพลเรือเอก
                                         - พ.ศ.๒๔๕๓ ทรงได้รับตำแหน่งจอมพลทหารบก กับดำรงตำแหน่งจเรทัพบกอีกตำแหน่งหนึ่ง
                                         - พ.ศ.๒๔๕๔ ด้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเลื่อนเป็นกรมพระยา และให้ทรงเป็นธุระดูแลกำกับควบคุมบังคับบัญชาเสือป่ากองมณฑลราชบุรี
                                         - พ.ศ.๒๔๕๖ จเรทหารทั่วไป และ จอมพลทหารเรือ ในปีเดียวกัน
                                         - พ.ศ.๒๔๖๑ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกองเอกพิเศษ กรมเสือป่าพรานหลวง รักษาพระองค์
                                         - พ.ศ.๒๔๖๓ ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ (ถึงปี ๒๔๖๖ ทรงพ้นจาก ตำแหน่งผู้กำกับราชการ กระทรวงทหารเรือ คงรับราชการในตำแหน่งจเรทหารทั่วไปตำแหน่งเดียว)
                                         - พ.ศ.๒๔๖๘ อภิรัฐมนตรี
                       
ราชการ และตำแหน่งพิเศษ     
                                        
- ราชทูตพิเศษ เสด็จประเทศญี่ปุ่น และยุโรป ในสมัยรัชกาลที่ ๕
                                         - ราชองครักษ์ ในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖
                                         - พ.ศ.๒๔๓๐ องคมนตรี
                                         - พ.ศ.๒๔๕๒ ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ ๔
                                         - พ.ศ.๒๔๕๖ นายทหารพิเศษ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
                                         - พ.ศ.๒๔๖๓ นายทหารพิเศษ กรมทหารม้า นครราชสีมาในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี และ
เป็น นายทหารพิเศษ กรมทหารม้า กรุงเทพฯ รักษาพระองค์ ว.ป.ร.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
                                         - พ.ศ.๒๔๑๒ นพรัตน์ราชวราภรณ์
                                         - พ.ศ.๒๔๑๖ ปฐมจุลจอมเกล้า
                                         - พ.ศ.๒๔๒๓ ประถมาภรณ์มงกุฎ
                                         - พ.ศ.๒๔๒๔ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
                                         - พ.ศ.๒๔๒๕ มหาจักรีบรมราชวงศ์
                                         - พ.ศ.๒๔๓๖ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์และเข็มราชการแผ่นดิน และเหรียญจักรมาลา
                                         - พ.ศ.๒๔๔๓ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
                                         - พ.ศ.๒๔๔๔ เหรียญบุษปมาลา และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ ชั้น ๑
                                         - พ.ศ.๒๔๔๗ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ ชั้น ๒
                                         - พ.ศ.๒๔๕๒ ดาราปฐมจุลจอมเกล้า ประดับเพชร
                                         - พ.ศ.๒๔๕๓ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖ ชั้น ๑
                                         - พ.ศ.๒๔๕๕ ตรารัตนวราภรณ์
                                         - พ.ศ.๒๔๕๖ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
                                         - พ.ศ.๒๔๖๑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๑
                                         - พ.ศ.๒๔๖๓ มหาวชิรมงกุฎ และมหาจักรีบรมราชวงศ์ประดับเพชร
                                         - พ.ศ.๒๔๖๙ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗ ชั้น ๑  (ทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญต่างประเทศอีกจำนวนมาก)

ผลงานที่สำคัญ
                                         - เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้บัญชาการกรมทหารทั่วไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ (ขณะนั้น
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็น ผู้บัญชาการทหารทั่วไป มีพระชันษาเพียง ๑๑ ปี ) ทรงรับพระบรมราชโองการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                                         - การตั้งข้อพระราชบัญญัติสำหรับการฝึกหัดทหาร เพื่อให้นายทหาร และ พลทหารปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบแผน และตามกาลสมัย
                                         - การตั้งข้อพระราชบัญญัติสำหรับทหาร ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองเพิ่มเติมจากพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับกรมทหาร
                                         - การตั้งโรงเรียนทหาร คือ โรงเรียนทหารสราญรมย์ เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกหัด นักเรียนทหาร โดยตั้งข้อบังคับสำหรับโรงเรียนทหาร เรียกว่า “บัญญัติ โรงเรียนทหารสราญรมย์ ”
                                         - การตั้งพระราชบัญญัติแก้ไขธรรมเนียมกำหนดอายุคนที่รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๓๑ และพระราชบัญญัติสำหรับกรมทหาร พ.ศ.๒๔๓๑

 

 

 

 

:::  Design for IE5 800x600  , Text Size = Medium  :::