หอสมุดแห่งชาติ. พระประวัติ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน. พระนคร, พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง. พระประวัติ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน. ค่ายภาณุรังษี จังหวัดราชบุรี.
                  กรมศิลปากร. เทิดพระเกียรติราชสกุลฉัตรชัย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๕. ๓๘ หน้า.
                  กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๓๖.หน้า ๖๖.
                  การรถไฟแห่งประเทศไทย. บุรฉัตรรำลึก. กรุงเทพฯ : บริษัท ประยูรวงศ์ จำกัด, ม.ป.ป. ๒๕๓ หน้า.
                  สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. สดุดีบุคคสำคัญ เล่ม ๔. กรุงเทพฯ : บริษัท วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์ จำกัด , ๒๕๒๘. ๑๗๑ หน้า.

 

  

                  นับตั้งแต่กองพลทหารช่างได้ทำเรื่องขอพระราชทานนามค่ายไป จนกระทั่งได้รับพระราชทานมาว่า “ ค่ายบุรฉัตร ” ได้มีการวางแผนงานสำหรับการทำพิธีเปิดป้ายค่ายไปพร้อม ๆ กัน ในส่วนของการทำหนังสือนั้น เริ่มต้นด้วยการตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหนังสือประวัติความเป็นมาของค่ายบุรฉัตร จากนั้นทำเรื่องขออนุญาตนำพระประวัติของพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ซึ่งเป็นเจ้าของพระนามค่ายนี้มาลงพิมพ์ พระญาติของพระองค์ท่านคือ ม.จ.ภัทรลดา ดิศกุล ม.ร.ว.รมณียฉัตร แก้วกิริยา และ ม.ร.ว.พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ ได้กรุณาอนุญาต พร้อมกับเพิ่มเติมข้อมูลที่สำคัญให้อีกด้วย กองพลทหารช่าง และคณะทำงานขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้
                  สำหรับประวัติของหน่วยในค่าย เราได้จากที่มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการของ แต่ละหน่วยเท่านั้น ทำให้มีบางช่วงขาดหายไป จำเป็นต้องสอบถามจากบุคคลซึ่งเคยรับราชการ อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ และได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว บางท่านออกไปนานนับ ๑๐ ปี บางท่านเพิ่ง จะออกไป อย่างไรก็ตามทุกท่านกรุณาค้นหาหลักฐานข้อมูลและบันทึกรายละเอียดมาให้จนสามารถเชื่อมโยงอดีตมาสู่ปัจจุบันได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลาอันจำกัดนี้ เราขอเอ่ยนามอดีตผู้บังคับบัญชา ทั้ง ๓ ท่าน คือ พล.อ.ประยูร พงษ์นิทรัพย์ พล.อ.อำนาจ มีกลิ่นหอม และ พล.ท.ธงชัย เชื้อสนิทอินทร์ ผู้ต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้กับคณะทำงาน ด้วยความสำนึกในพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
                  เอกสารทั้งหมดเท่าที่หาได้จากหอสมุดแห่งชาติและที่ กองวิทยาการ กรมการทหารช่าง รวบรวมไว้ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ ที่น่าชื่นชมก็คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย เก็บบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของทหารช่างไว้อย่างละเอียดในหนังสือ “ บุรฉัตรรำลึก ”
                  ความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ อาจจะไม่เรียกว่าสมบูรณ์พร้อม เพราะมีข้อจำกัด หลายประการ แต่สำหรับความรู้สึกของคณะผู้จัดทำนั้น นี่คือที่สุดของเราแล้ว


คณะผู้จัดทำหนังสือประวัติค่ายบุรฉัตร
พ.ค.๔๙                   

   

     

 

 

 
 
  
กรมการทหารช่าง          ค่ายภาณุรังษี
ต.โคกหม้อ  อ.เมือง  จ.ราชบุรี  70000
จัดทำ/เผยแพร่โดย ส่วนปฏิบัติการระบบเครือข่ายฯ  ศทท.กช.
webmaster  ::  kittikraimanee@gmail.com   ทบ. 53105