ลำดับ
ชื่อค่ายทหาร
หน่วยทหาร
จ.ที่ตั้ง
 
 

๒. 

๓.

๔.

๕.

๖.

๗. 

๘.

๑๐

๑๑.

๑๒.

๑๓.

๑๔. 
 

๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

๗.

๘.

๙.

๑๐.

๑๑.

๑๒.

๑๓.

๑๔.

๑๕.

๑๖.

๑๗. 
 

๑. 

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

๗.

๘.

๑๐.

๑๑.

๑๒. 

กองทัพภาคที่ ๒

ค่ายสุรนารี 

ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ 

ค่ายวีรวัฒน์โยธิน

ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

ค่ายศรีพัชรินทร์

ค่ายสรรพสิทธิประสงค์

ค่ายสมเด้จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ค่ายประเสริฐสงคราม

ค่ายบดินทรเดชา

ค่ายประจักษ์ศิลปาคม

ค่ายพระยอดเมืองขวาง

ค่ายกฤษณ์สีวะรา

ค่ายศรีสองรัก

ค่ายสีหราชเดโชไชย 

กองทัพภาคที่ ๓

ค่ายจิรประวัติ

ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ

ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ค่ายวชิรปราการ

ค่ายพ่อขุนผาเมือง

ค่ายสุรศักดิ์มนตรี

ค่ายเม็งรายมหาราช

ค่ายขุนเจืองธรรมมิกราช

ค่ายขุนจอมธรรม

ค่ายพิชัยดาบหัก

ค่ายสุริยพงษ์

ค่ายพระยาไชยบูรณ์

ค่ายกาวิละ

ค่ายพิชิตปรีชากร

ค่ายเทพสิงห์

ค่ายโสณบัณฑิตย์ 

กองทัพภาคที่ ๔

ค่ายวชิราวุธ 

ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร

ค่ายรัษฎานุประดิษฐ์ 
ค่ายเขตอุดมศักดิ์

ค่ายวิภาวดีรังสิต

ค่ายรัตนรังสรรค์ 
ค่ายเสนาณรงค์

ค่ายรัตนพล

ค่ายพระปกเกล้าฯ

ค่ายอิงคยุทธบริหาร

ค่ายสิรินธร

ค่ายอภัยบริรักษ์

 
ทภ.๒, มทบ.๒๑, พล.ร.๓, บชร.๒, ร.๓ พัน.๒, ม.พัน.๘

พล.ร.๒, ร.๑๒๑, ร.๑๒๒, ร.๒๓

ป.พัน.๓

จทบ.ส.ร., ร.๒๓.พัน.๓

จทบ.บ.ร., ร.๒๓ พัน.๔

มทบ.๒๓, ม.๖

มทบ.๒๒, ร.๖, ป.พัน.๖

พล.ร.๖, ป.๖ ม.พัน.๒๑, ช.พัน๖

ส.พัน.๖

จทบ.ร.อ., ร.๑๖ พัน.๑, ร้อย.บ.พล.ร.๖

ร.๑๖, ร.๑๖ พัน.๒, ร.๑๖ พัน.๓

มทบ.๒๔, ร.๑๓, ป.พัน.๑๓

จทบ.น.พ., ร.๓ พัน.๓

จทบ.ส.น., ร.๓, ร.๓ พัน.๑

จทบ.ล.ย., ร.๘ พัน.๑

ร.๘, ร.๘ พัน.๓, ป.พัน.๘ 
 

มทบ.๓๑., ร.๔, ร.๔ พัน.๒, ช.พัน.๔

ทภ.๓, จทบ.พ.ล., พล.ร.๔

บชร.๓, ม.พัน.๙

ช.๓, ช.พัน.๓๐๒, พล.พัฒนา ๓, รพศ.๔

จทบ.ต.ก., ร.๔ พัน.๔

จทบ.พ.ช., ม.๓, ช.พัน.๘, พล.ม.๑

มทบ.๓๒, ร.๑๗ พัน.๒

จทบ.ช.ร., ร.๑๗, ร.๑๗ พัน.๑

จทบ.พ.ย., ร.๑๗, ร.๑๗ พัน.๑, ป.พัน.๑๗

ร.๑๗ พัน.๔

จทบ.อ.ต., ม.๒

จทบ.น.น., ม.พัน.๑๐

ม.พัน.๑๒

มทบ.๓, ร.๗, ร.๗ พัน.๑

ร.๗ พัน.๒

ร.๗ พัน.๔

ร.๗ พัน.๕ 
 

ทภ.๔, มทบ.๔๑, ร.๑๕, ป.๕

ป.พัน.๑๐๕

จทบ.ท.ส., พล.ร.๕, บชร.๔

ร.๑๕ พัน.๔

จทบ.ช.พ., ร.๒๕ พัน.๑, ป.พัน.๒๕

จทบ.ส.ฎ., ร.๒๕, ร.๒๕ พัน.๓

ร.๒๕ พัน.๒

มทบ.๔๒, ร.๕, ร.๕ พัน.๑

พล.พัฒนา ๔

ป.พัน.๕

จทบ.ป.น., ร.๕ พัน.๒

ร.๕ พัน.๓

ช.พัน.๔๐๑, ช.พัน.๔๐๒

 
น.ม. 

น.ม. 

ส.ร.

บ.ร.

ข.ก.

อ.บ.

ร.อ. 

ร.อ.

ย.ส.

อ.ด.

น.พ.

ส.น.

ล.ย.

ข.ก. 
 

น.ว.

พ.ล.

พ.ล.

พ.ล.

ต.ก.

พ.ช.

ล.ป.

ช.ร.

พ.ย.

พ.ย.

อ.ต.

น.น.

พ.ร.

ช.ม.

ช.ม.

ม.ส.

ม.ส. 
 

น.ศ. 

น.ศ.

ต.ง.

ช.พ.

ส.ฎ.

ร.น.

ส.ข.

ส.ข.

ส.ข.

ป.น.

ป.น.

พ.ท.

ตอนที่ ๑

ข้อแนะนำการติดต่อราชการที่ทำการสัสดีเขต/อำเภอ

การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร)

      บุคคลที่มีสัญชาติไทยเมื่ออายุ  ๑๗  ปีบริบูรณ์  ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร)  ตามภูมิลำเนาของบิดา   ถ้าบิดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของมารดา   ถ้าบิดา มารดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกิน  ตามภูมิลำเนาของผู้ปกครองและเมื่อลงบัญชีทหารกองเกินเสร็จแล้วจะได้รับใบสำคัญ  (แบบ สด.๙)  โดยนำหลักฐานไปลงบัญชีทหารดังนี้

การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร

      บุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหารฯ)ไว้แล้ว เมื่ออายุ ๒๐  ปีบริบูรณ์  ต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕)  ภายในปี พ.ศ.นั้น ๆ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับหมายเรียกแทน   จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และนำหลักฐานไปยืนต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้

การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล

      บุคคลซึ่งเป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุน  เมื่อได้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล  ต้องไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ในบัญชีทหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยนำหลักฐานไปยื่นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้

         ๓. บัตรประจำตัวประชาชน

ใบสำคัญ  (แบบ สด.๙)  และหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)  แทนฉบับที่ชำรุดหรือสูญหาย

      เมื่อใบสำคัญ (แบบ สด.๙)  หรือหนังสือสำคัญ  (แบบ สด.๘)  ชำรุดหรือสูญหายให้ผู้ถือใบสำคัญ (แบบ สด.๙)  หรือหนังสือสำคัญ  (แบบ สด.๘)  แจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ท้องที่ภูมิลำเนาทหาร  โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้

การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหาร

      บุคคลใดย้ายไปอยู่ที่ใหม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักฐาน  และมีความประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ให้ยื่นคำร้องแจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่ โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้

การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารหรือการเกณฑ์ทหาร

      ๑.  การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา

      ๒.   การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตร

            บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ ซึ่งบุตรยังหาเลี้ยงชีพไม่ได้ หรือไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู  ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้

      ๓.   การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้อง

            บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ซึ่งบิดา มารดาตาย ทั้งนี้พี่หรือน้องหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผัน ดังนี้

                  ๓.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)

      ๔.   การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อศึกษาภายในประเทศ

               การผ่อนผันเนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาภายในประเทศ เป็นการผ่อนผันให้เนื่องจากมีจำนวนคนมากกว่าจำนวนคนที่หน่วยทหารต้องการ ซึ่งได้แก่

      ๕.   การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อไปศึกษาวิชา  ณ   ต่างประเทศ

           การผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเนื่องจากไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศจะได้รับการผ่อนผันการตรวจเลือกทหารตามจำนวนปีที่ใช้การศึกษาตามหลักสูตรจนกว่าจะจบการศึกษา แล้วยกเว้นให้ไม่ต้องมาแสดงตนในวันตรวจเลือกเกณฑ์ทหารโดยมีขั้นตอนการขอผ่อนผันดังนี้

                  ๕.๒.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)

การยกเว้นการตรวจเลือกทหารในยามปกติ

      ๑.    การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของพระภิกษุสามเณรที่เป็นนักธรรม

            การยกเว้นให้กับพระภิกษุสามเณรหรือนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนซึ่งเป็นนักธรรมที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง การขอยกเว้นให้ปฏิบัติดังนี้

                  ๑.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)

      ๒.   การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักบวชสำหรับศาสนาอิสลาม

             การยกเว้นนักบวชสำหรับศาสนาอิสลามในสุเหร่าหนึ่ง ยกเว้นให้ ๓ คน คือ โต๊ะอิหม่ำ ๑ คน โต๊ะบิลา  ๑ คน และโต๊ะกาเตบ  ๑ คน  ให้ผู้ขอยกเว้นดำเนินการดังนี้

      ๓.   การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักบวชสำหรับศาสนาคริสต์หรือโรมันคาทอลิค

      การยกเว้นนักบวชสำหรับศาสนาคริสต์ หรือโรมันคาทอลิค สำนักสอนศาสนา ๑ แห่ง ยกเว้นให้แก่เจ้าอธิการวัด ๑ คน ผู้ช่วยเจ้าอธิการวัด ๓ คน และสำนักสอนศาสนาจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งเป็นสำนักสอนศาสนาโดยให้ผู้ขอยกเว้นดำเนินการดังนี้

         ๔.   การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักบวชสำหรับศาสนาโปรเตสเตนท์

      การยกเว้นนักบวชสำหรับศาสนาโปรเตสเตนท์ สำนักสอนศาสนา ๑ แห่ง ยกเว้นหัวหน้าสำนักสอนศาสนาและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักสอนศาสนา  แห่งละ  ๓ คน      สำนักสอนศาสนาจะต้องได้รับอนุญาตทางราชการให้จัดตั้งเป็นสำนักสอนศาสนาได้ โดยให้ผู้ขอยกเว้นดำเนินการดังนี้

             การยกเว้นให้บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชาทหาร (นักเรียน ร.ด.) บุคคลที่กำลังศึกษาวิชาทหารหรือเรียน ร.ด. จะต้องยื่นคำร้องต่อสถานศึกษา หรือหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารและนำหลักฐานเพื่อขอยกเว้นไปด้วยดังนี้

            ๕.๑ ใบสำคัญ  (แบบ สด.๙)

      การยกเว้นให้กับครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ครูที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ในยามปกติ ต้องมีคุณลักษณะดังนี้

      โดยครูซึ่งประจำทำการสอนจะต้องยื่นคำร้องต่อสถาบันหรือสถานศึกษาที่ทำการสอนโดยต้องนำหลักฐาน ยื่นคำร้องขอยกเว้นดังนี้

      ๑.  ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)

      ๒.  หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)

      ๓.  บัตรประจำตัวประชาชน

      ๔.  สำเนาทะเบียนบ้าน

      ๕.  คำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู

      ๖.  ตารางการสอนหนังสือ

      ๗.   การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือน

      การยกเว้นการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) ให้กับนักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคมต้องยื่นคำร้องขอยกเว้นต่อศูนย์ฝึกการบินพลเรือน และต้องนำหลักฐานไปยกเว้นดังนี้

      การยกเว้นการตรวจเลือก (การเกณฑ์ทหาร) ให้กับบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย โดยการแปลงสัญชาติ บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติให้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานเพื่อยกเว้นไปด้วยดังนี้

 ๘.๒  หมายเรียก  (แบบ สด.๓๕)

      การยกเว้นการตรวจเลือก  (การเกณฑ์ทหาร)  ให้กับบุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาครั้งเดียว หรือหลายครั้งรวมกันตั้งแต่  ๑๐  ปีขึ้นไป ให้ผู้ขอยกเว้นยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานเพื่อยกเว้นดังนี้

               ๙.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน

การปฏิบัติในการตรวจเลือกทหารเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

      บุคคลใดได้รับหมายเรียกแล้ว จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกิน (เกณฑ์ทหาร)  ตามหมายเรียกของนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้

ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร)

      ในวันตรวจเลือกทหารกองเกิน (วันเกณฑ์ทหาร)  เวลา  ๐๗.๐๐ น.  ทหารกองเกินหรือบุคคลที่ได้รับหมายเรียก  (แบบ สด.๓๕)  แล้วทุกคนเข้าแถวตามตำบล  เคารพธงชาติเสร็จ  ประธานกรรมการตรวจเลือกทหารหรือประธานกรรมการเกณฑ์ทหาร  ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ กรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร  รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคือผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้  ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

      จำพวกที่  ๑  คนร่างการสมบูรณ์ดี

สิทธิและประโยชน์ที่ทหารกองประจำการจะได้รับ

      ทหารกองเกินหรือบุคคลที่สมัครหรือจับได้สลากแดงถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการจะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่หน่วยทหารจัดให้

ใครจะพิทักษ์ผืนแผ่นดินไทย  ถ้าชายไทยหลีกเลี่ยงการเป็นทหาร 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ตอนที่ ๒

๑๐๐ คำถาม

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายรับราชการทหาร 

๑. ถาม  กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนด

            หน้าที่การรับราชการทหารไว้อย่างไร

๒. ถาม  พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ กำหนดหน้าที่ชายไทยไว้อย่างไร

๑๙. ถาม  พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่

๒๐. ถาม ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่

๕๓. ถาม หลักเกณฑ์การขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

ด้วยใจจงรัก  จึงสมัครเป็นทหาร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชทานเมื่อ ๒๑  มกราคม  ๒๕๔๐ 

ตอนที่ ๓

สรุปรายละเอียดขั้นตอนการรับสมัครทหารกองเกิน

อายุ ๑๘–๒๐ ปี บริบูรณ์  เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ

การรับสมัครทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์  เข้าเป็นทหารกองประจำการ

      ๑.  การรับสมัคร

      ๑.๑ สามารถแจ้งความจำนงสมัครเป็นทหารกองประจำการ  ต่อสัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ  และชุดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

      ๑.๒ ขอรับใบสมัคร จากสัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ  ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในวันเวลาราชการ

      ๑.๓ รับสมัครตั้งแต่ วันที่  ๓ มกราคม – ๑๕ มีนาคม  ของทุกปี

      ๒.  คุณสมบัติของผู้สมัคร

            ๒.๑ เป็นทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปี

            ๒.๒ เป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี  และไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการ

            ๒.๓ มีขนาดร่างกายสูง  ๑ เมตร  ๖๐  เซนติเมตรขึ้นไป และขนาดรอบตัว ๗๖  เซนติเมตรา  เมื่อเวลาหายใจออก

            ๒.๔ ไม่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีอาญาหรืออยู่ในระหว่างถูกคุมประพฤติ

      ๓.  หลักฐานการรับสมัคร

            ๓.๑ ใบสมัคร

            ๓.๒ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)

            ๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชน

            ๓.๔ หลักฐานที่สำเร็จการศึกษา  เช่น  ใบสุทธิ หรือประกาศนียบัตร

            ๓.๕ หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของบิดามารดาหรือผู้ใช้อำนาจปกครองสำหรับผู้ที่อายุ ๑๘–๑๙ ปี

      ๔.  ขั้นตอนการสมัคร

            ๔.๑ ยื่นใบสมัครต่อสัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร

            ๔.๒ สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ  ตรวจร่างกายและวัดขนาดร่างกายในขั้นต้น

            ๔.๓ ผู้สมัครที่มีร่างกายอยู่ในหลักเกณฑ์ตามคุณสมบัติที่กำหนดจะรับสมัครไว้

            ๔.๔ สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ จะออกใบนัดให้ไปตรวจร่างกายและวัดขนาดกับคณะกรรมการคัดเลือก

      ๕.  ขั้นตอนการคัดเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ

            ๕.๑ จะทำการคัดเลือกตามวันและเวลาที่สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ  ออกใบนัดให้ไปตรวจร่างกายและวัดขนาด

            ๕.๒ กรรมการนายทหารสัญญาบัตรคนที่ ๑ เรียกชื่อและตรวจหลักฐาน

            ๕.๓ กรรมการแพทย์ตรวจร่างกาย

            ๕.๔ กรรมการสัสดีกำหนดคนเป็นจำพวก

            ๕.๕ กรรมการนายทหารสัญญาบัตรคนที่  ๒ วัดขนาดความสูงของร่างกายและขนาดรอบตัว

            ๕.๖ ประธานกรรมการตัดสินในรับหรือไม่รับสมัครโดยพิจารณาจากผลการตรวจร่างกายและวัดขนาด

            ๕.๗ สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ  ออกใบนัดให้ไปเข้ารับราชการทหาร

      ๖.  หน้าที่ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือก

            ๖.๑ ไปรายงานตัวเข้ารับราชการทหาร  ตามใบนัด 

            ๖.๒ รับราชการทหารกองประจำการมีกำหนด ๒ ปี เว้นแต่ผู้ที่จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปและขอสิทธิลดวันรับราชการก็จะรับราชการทหารน้อยกว่า  ๒ ปี

      ๗.  สิทธิและประโยชน์ที่จะได้รับ

            ๗.๑ มีสิทธิที่จะเลือกสมัครเป็นทหารบก  ทหารเรือ  หรือทหารอากาศ

            ๗.๒ มีสิทธิขอลดวันรับราชการตามที่กฎหมายกำหนด

            ๗.๓ มีสิทธิพิเศษในการสมัครสอบเป็น    นักเรียนนายสิบทหารบก นักเรียนจ่าทหารเรือ หรือนักเรียนจ่าทหารอากาศ  ตามอัตราส่วนที่แต่ละกองทัพจะกำหนด

            ๗.๔ มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง  เงินเดือน ตามที่กฎหมายกำหนด

            ๗.๕ มีสิทธิสมัครใจที่จะรับราชการทหารกองประจำการต่อได้จนถึงอายุ  ๒๖  ปี  ตามระบบทหารอาสาสมัคร

            ๗.๖ มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านบุคลิกภาพ  การศึกษา  อาชีพและประโยชน์อื่นๆ ที่หน่วยทหารมีโครงการส่งเสริม 
 
 
 
 

๑๑๐ คำถาม

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ตอนที่ ๕

สิทธิและหน้าที่ของชายไทย

ที่ควรรู้เกี่ยวกับการเข้ารับราชการทหาร 

      สิทธิและหน้าที่ของชายไทยที่ควรรู้เกี่ยวกับการเข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร  พุทธศักราช  ๒๔๙๗  ได้กำหนดหน้าที่และสิทธิของชายไทยที่พึงรู้และจำต้องปฏิบัติตาม  ดังนี้ 

      สิทธิในการลดวันรับราชการทหาร

      ๑.  ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร, ข้าราชการตุลาการ, ดะโต๊ะยุติธรรม, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นข้าราชการธุรการชั้นตรีหรือเทียบเท่าข้าราชการพลเรือนชั้นตรีหรือเทียบเท่า,พนักงานเทศบาลชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จชั้นอุดมศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่า

      จับสลากถูกเป็นทหาร ๑ ปี  ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน

      ๒.  ผู้สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ หรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จจาก ร.ร.อาชีวศึกษาชั้นสูงของกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้สำเร็จวิชาชีพ หลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓ ปี  จาก ร.ร.อาชีวะที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและรับจากผู้สำเร็จ  ม.ศ.๓ ผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย  ตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป

      จับสลากถูกเป็นทหาร ๒ ปี  ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี

      ๓.  ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร

            -  ชั้นปีที่ ๑ เป็นทหาร  ๑ ปี  ๖ เดือน ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี

            -  ชั้นปีที่ ๒ เป็นทหาร  ๑ ปี  ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน

            -  ชั้นปีที่ ๓ ขึ้นทะเบียนเป็นทหารแล้วปลดเป็นกองหนุนโดยไม่ต้องเข้ารับราชการ (ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกให้ติดต่อกับ  รด.  นำตัวขึ้นทะเบียน)

      ๔.  ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารจากต่างประเทศ  ต้องให้กระทรวงกลาโหมรับรองเทียบกับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารของ รด. ก่อน  แล้วจึงขอรับสิทธิตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

      คำเตือน

      ๑.  การขอสิทธิลดวันรับราชการทหาร  ต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษโดยยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก  โดยทำคำร้องไว้พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย

      ๒.  ผู้เข้ารับการตรวจเลือก  จะได้ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ  (แบบ สด.๔๓)  จากประธานกรรมการในวันตรวจเลือก  ทุกคน

      ผู้มีปัญหาหรือข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อ กรมการกำลังสำรองทหารบก โทร ๐–๒๒๙๗–๘๗๕๐  ตู้ ปณ. ๒–๑๙๑ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ แผนกสัสดีจังหวัด หรือหน่วยสัสดีอำเภอ/เขต ทุกแห่ง 

      หลักฐานสำคัญ

      ใบรับรองผลการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร  (แบบ สด.๔๓)  หรือที่เรียกว่า ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร  เป็นหลักฐานสำคัญที่ท่านจะต้องใช้แสดงต่อหน่วยราชการ  รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน ห้างร้านเอกชน เพื่อประโยชน์ในการสมัครเข้าทำงานหรือขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เมื่อบัตรฯ  เดิมหมดอายุ

      โปรดระวัง

      ใช้ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓)  ปลอม  มีความผิดถึงติดคุก

      ข้อสังเกต

      ใบรับรองผลฯ  ที่ถูกต้อง  ท่านจะต้องได้รับจากประธานกรรมการตรวจเลือกฯ  ในวันตรวจเลือกฯ เท่านั้น  หากท่านได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่นหรือได้รับโดยมิได้ไปรับการตรวจเลือกฯ แสดงว่าเป็นใบรับรองผลฯ ปลอม  ซึ่งท่านจะมีความผิดต้องระวางโทษถึงจำคุก

      ระวัง!

      ๑.  คนอายุ  ๒๑  ปีบริบูรณ์

      ๒.  คนอายุ  ๒๒  ปี  ถึง ๒๙  ปีบริบูรณ์  ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือก และ/หรือผลการตรวจเลือกยังไม่เสร็จสิ้นไม่ว่ากรณีใดๆ

      ๓.  นิสิต นักศึกษา  นักเรียน  ที่อยู่ในระหว่างจะได้รับการผ่อนผัน

      บุคคลดังกล่าวข้างต้น ต้องไปรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหาร และไปเข้ารับการตรวจเลือกตามวัน เวลา  และสถานที่  ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก

      ให้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ  นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙),  หมายเรียกฯ  (แบบ สด.๓๕), บัตรประจำตัวประชาชน,  ประกาศนียบัตร หรือหลักฐานการศึกษาฯ  ไปแสดงในวันตรวจเลือกด้วย

      การตรวจโรคทางทหารกองเกินก่อนการตรวจเลือก

      ๑.  ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจโรค คือ ทหารกองเกินผู้ที่รู้ว่าตนเองมีโรคที่น่าขัดต่อการรับราชการทหาร  หรือได้ผ่านการตรวจโรคจากโรงพยาบาลของส่วนราชการพลเรือนหรือเอกชนแล้ว

      ๒.  โรคที่ควรเข้ารับการตรวจ คือ โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร  ซึ่งไม่สามารถตรวจด้วยตาเปล่าหรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ ได้แก่  โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของตา, หู, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด, โรคของระบบหายใจ, โรคของระบบปัสสาวะ, โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ, โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม, โรคติดเชื้อ, โรคทางประสาทวิทยา, โรคทางจิตเวช  และโรคอื่นๆ เช่น  ตับแข็ง เป็นต้น

      ๓.  สถานที่เข้ารับการตรวจ คือ โรงพยาบาลสังกัดทบ.  ๑๙  แห่ง  ได้แก่

            ๓.๑ ส่วนกลาง  :   รพ.พระมงกุฎเกล้า ( กรุงเทพ ฯ ),   รพ.อานันทมหิดล    ( ลพบุรี ),

รพ.ค่ายธนะรัชต์ (ประจวบคีรีขันธ์), รพ.รร.จปร. (นครนายก)

            ๓.๒  ทภ.๑ : รพ.ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี), รพ.ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี), รพ.ค่ายอดิศร (สระบุรี), รพ.ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)

            ๓.๓ ทภ.๒ :  รพ.ค่ายสุรนารี (นครราชสีมา), รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุดรธานี), รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์), รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (เชียงใหม่)

            ๓.๔ ทภ.๓ : รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก), รพ.ค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์), รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง), รพ.ค่ายกาวิละ  (เชียงใหม่)

            ๓.๕ ทภ.๔ :  รพ.ค่ายวชริาวุธ (นครศรีธรรมราช), รพ.ค่ายเสราณรงค์ (สงขลา)

      ๔.  เอกสารที่ต้องนำไปให้คณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบ  ได้แก่  บัตรประจำตัวประชาชน, ใบสำคัญทหารกองเกิน  (แบบ สด.๙)  และหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕)  ฉบับจริง  และสำเนาที่ลงนามรับรองเองแล้ว

      สิทธิต่างๆ ที่ทหารกองเกินจะได้รับ

      ๑.  สิทธิในการยกเว้น  ผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้น  เช่น  พระภิกษุสารเณร – นักธรรม, นักบวชศาสนาอื่น ครู นักศึกษาวิชาทหาร  (รด.) ฯลฯ เป็นต้น เมื่อได้รับอนุมัติให้ยกเว้นแล้ว ไม่ต้องไปแสดงตนในวันตรวจเลือกฯ

      ๒.  สิทธิในการผ่อนผัน ทางราชการผ่อนผันให้แก่บุคคลต่อไปนี้ คือ

            - บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดามารดาซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการ ทุพพลภาพ  หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู หรือต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือหารเลี้ยงพี่หรือน้องซึ่งหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู

            -  นิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนในสถาบันการศึกษาที่กำหนดไว้ ให้แจ้งต่อสถาบันการศึกษานั้นๆ เพื่อให้ดำเนินการขอผ่อนผันให้ต่อไป

      ผู้ที่ขอผ่อนผันประเภทนี้ จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕)  และไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย หากปีใดมีคนส่งเข้าเป็นทหารพอก็จะได้รับสิทธิผ่อนผันไม่ต้องเป็นทหารเฉพาะปีนั้น  สำหรับปีต่อๆ ไป  ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน

      ๓.  ผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า  ตนควรได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันต้องนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกก่อนจับสลาก มิฉะนั้นถือว่าหมดสิทธิ

      ๔. ผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า  การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องก็ให้คัดค้านในทันที  เมื่อผ่านไปแล้วกรรมการอาจจะไม่พิจารณาให้

      ๕.  ผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นทหารเห็นว่า  คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม  ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานกรรมการ  และกรรมการอื่นอีก ๒ นาย)  ได้ทันที  แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องไปเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็นทหารก่อนจนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง

      ๖.  ผู้ที่ต้องเข้ากองประจำการ ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง ก็ให้ยื่นตรงต่อคณะกรรมการชั้นสูงทีเดียวไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

      ทหารกองเกินที่มีคุณวุฒิ ม.๖ และร้องขอเข้ากองประจำการในวันตรวจเลือก  มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก  ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔  ในส่วนของกองทัพบก ได้ถึงร้อยละ  ๕๐  ของที่นั่งศึกษาทั้งหมด

       สิทธิทหารกองประจำการที่จะได้รับ

      การเป็นทหารกองประจำการ นอกจากจะได้รับการปลูกฝังให้เป็นลูกผู้ชายอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แลัวยังนับว่าเป็นผู้ที่มีความเสียสละอย่างสูงในการที่ได้เข้าไปรับใช้ประเทศชาติเพื่อร่วมกันปกป้องอธิปไตยของชาติบ้านเมือง     สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่ง      สำหรับสิทธิทหารกองประจำการที่จะได้รับมี ดังนี้

      ๑.  ในด้านความเป็นอยู่  ท่านจะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลอย่างดีโดยใกล้ชิด เช่น การกินอยู่  การกีฬา การพักผ่อน  การรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย ตลอดเวลาที่เป็นทหารกองประจำการ

      ๒.  นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องแต่งกาย  เครื่องนอน  เครื่องใช้ประจำตัว  ตามที่ทางราชการกำหนด

      ๓.  ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ  ๕๐  บาท/คน  และเงินเดือนทหารกองประจำการ เดือนละ ๒,๑๙๐-๒,๗๕๐ บาท เมื่ออยู่ในที่ตั้งหน่วย

      ๔.  ผู้มีคุณวุฒิ ม.๖ และร้องขอเข้ากองประจำการ  มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ในส่วนของกองทัพบก ตามที่ ทบ. กำหนด (ร้อยละ ๕๐  ของที่นั่งศึกษาทั้งหมด)

      ๕.  ส่งเสริมให้เรียนเพิ่มเติม (กศน.)  ถึงชั้นมัธยมปลาย

      ๖.  ฝึกอาชีพให้ก่อนปลดจากกองประจำการ  ๑๔  อาชีพ

      สิทธิของกำลังพลสำรองในการเข้ารับการเรียกพล

      เพื่อให้กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลทุกนายได้รับความสะดวกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และลดความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ให้น้อยที่สุด ทางราชการจึงได้กำหนดสิทธิต่างๆ  ให้แก่กำลังพลสำรอง  ซึ่งมีเรื่องที่ควรจะทราบ  คือ

      ๑.  การโดยสายยานพาหนะ  จากภูมิลำเนาทหาร หรือภูมิลำเนาที่ประกอบอาชีพไปรายงานตัว  ณ หน่วยเรียกพล  หรือ  ณ สถานที่ที่ทางราชการกำหนด และการเดินทางกลับภูมิลำเนานั้นๆ เมื่อเสร็จสิ้นการเรียกพล  ให้ได้รับสิทธิ ดังนี้

            ๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลับเฉพาะ  ด้วนมากที่  นว.๒๑๙/๒๔๙๖  ลง  ๒๔ ก.พ.๙๖  ให้ยกเว้นค่าโดยสารยานพาหนะสำหรับกำลังพลสำรอง  ในการโดยสารยานพาหนะของส่วนราชการ  หรือรัฐวิสาหกิจ โดยกาลังพลสำรองจะต้องนำหลักฐานในการเรียกพลไปแสดงต่อนายสถานียานพาหนะนั้นๆ  และจะจ้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยสารยานพาหนะของกำลังพลสำรองในการเรียกพล

            ๑.๒ ให้จ่ายค่าพาหนะเหมาจ่ายสำหรับการโดยสารยานพาหนะทั้งเที่ยวไปรายงานตัว และกลับภูมิลำเนาแก่กำลังพลสำรองทุกนายที่เข้ามารับการการเรียกพล  ตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนด โดยได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง ดังนี้  (ปัจจุบัน)

            พ.ค.  ขึ้นไป  คนละ  ๒๗๐ บาท

            ร.ต.  ขึ้นไปถึง ร.อ.  คนละ  ๒๕๐ บาท

            นายทหารประทวน  และพลทหาร คนละ  ๒๓๐ บาท

      ๒. ค่าเลี้ยงดูหรือเบี้ยเลี้ยงให้หน่วยเรียกพล หรือหน่วยรับพลเบิกจ่ายค่าเลี้ยงดู ให้แก่กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ  หรือเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมหรือการระดมพล  โดยพิจารณาเบิกจ่ายตามขั้นตอน  ดังนี้

            ๒.๑   กำลังพลสำรองประเภทพลทหาร และ ส.ต.กองประจำการ ให้ได้รับค่าเลี้ยงดูหรือเบี้ยเลี้ยง ในอัตราเบี้ยเลี้ยงของพลทหารประจำการที่ใช้ในปัจจุบัน  (๕๐  บท)

            ๒.๒ กำลังพลสำรองประเภทนายทหารสัญญาบัตร  และนายทหารประทวน  ให้ได้รับค่าเลี้ยงดูหรือเบี้ยเลี้ยงเท่ากับเบี้ยเลี้ยงเดินทางของทหารประจำการในชั้นยศเดียวกันตามพระราชกฤษฎีกา   ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ  ดังนี้

                  ร.ต. – พ.ท.  คนละ  ๙๐ บาท/วัน

                  ส.ค. – จ.ส.อ.  คนละ  ๖๐ บาท/วัน

      ๓.  เงินตอบแทน  ให้หน่วยเรียกพลจ่ายเงินตอบแทนกำลังพลสำรองที่เข้ารับการเตรียมพล  ตามที่กระทรวงกลาโหมได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยถือปฏิบัติ ดังนี้

            ๓.๑ เงินตอบแทนไม่จ่ายให้บุคคลดังต่อไปนี้

                  ๓.๑.๑ ข้าราชการและลูกจ้างประจำรายเดือนของส่วนราชการ โดยให้ได้รับเงินเดือนจากหน่วยต้นสังกัดเดิม  ตลองระยะเวลาที่เข้ารับการเรียกพล 

                  ๓.๑.๒ พนักงานและลูจ้างประจำรายเดือนของรัฐวิสาหกิจ โดยไดรับเงินเดือนจากหน่วยต้นสังกัดเดิม  ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการเรียกพล

            ๓.๒ เงินตอบแทนเงินเดือนจ่ายให้เป็นบางส่วน ดังนี้

                  ๓.๒.๑ ลูกจ้างประจำวันและรายชั่วโมง  คงรับเงินค่าจ้างจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ทางราชการจะพิจารณาจ่ายเงินตอบแทนเฉพาะในวันที่หน่วยต้นสังกัดเดิมไม่จ่ายค่าจ้างให้  เช่น  วันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นต้น

                  ๓.๒.๒ ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารปีละ ไม่เกิน ๒ เดือน ให้ได้รับค่าจ้างจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ถ้าเกิน ๒ เดือน ไปแล้วทางราชการจะจ่ายเงินตอบแทนให้สำหรับในการเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม  และการระดมพลปีละไม่เกิน  ๓๐  วัน ให้รับค่าจ้างจากหน่วยต้นสังกัดเดิม  ถ้าเกิน ๓๐  วันไปแล้วทางราชการจะจ่ายเงินตอบแทนให้

                  ๓.๒.๓ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และรายชั่วโมง คงปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ  ๓.๒.๒ ทางราชการจะพิจารณาจ่ายเงินตอบแทนที่หน่วยต้นสังกัดเดิมไม่จ่ายค่าจ้างให้  เช่น  วันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นต้น

            ๓.๓ หลักเกณฑ์คำนวณเงินตอบแทน

                  ๓.๓.๑ ให้จ่ายเงินตอบแทนในวันดำเนินกรรมวิธีปลดปล่อยพล โดยพิจารณาจ่ายตั้งแต่วันมารายงานตัว จนถึงวันที่ปลดปล่อยตัวกลับภูมิลำเนา โดยคิดเป็นรายวันตามผลเฉลี่ยของเงินเดือนในเดือนนั้น  ไม่รวมเงินเพิ่มพิเศษอื่นใด

                  ๓.๓.๒ กำลังพลสำรองที่เคยเป็นทหารกองประจำการหรือทหารประจำการ ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในเดือนสุดท้ายก่อนออกจากราชการ

                  ๓.๓.๓ กำลังพลสำรองที่ไม่เคยเป็นทหารกองประจำการ  หรือทหารประจำการ  ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนขั้นต้นของชั้นยศนั้นๆ  แล้วแต่กรณี

      หมายเหตุ

               ๔.๒ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารและการเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม กองทัพบกจะพิจารณาจ่ายเครื่องแต่งกายให้ตามความจำเป็น

           ๔.๓ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการระดมพล กองทัพบกจะจ่ายเครื่องแต่งกายให้เช่นเดียวกับทหารประจำการโดยอนุโลม

           ๕.๑ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพล  เมื่อเจ็บป่วยในระหว่างเข้ารับราชการทหาร จะได้รับการรับการรักษาพยาบาลตาม “ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการรักษาพยาบาลและส่งกลับในเวลาปกติ  พ.ศ.๒๕๑๙”  เช่นทหารกองหนุนที่เข้ามารับการเรียกพล จะได้รับสิทธิเทียบเท่ากับทหารประจำการ คือ ทางราชการทหารยกเว้นไม่ต้องเสียค่ายา ค่าเวชภัณฑ์และค่าตรวจรักษาพิเศษ หรือค่าอาหารคนไข้ หน่วยที่รักษาพยาบาลจะเป็นผู้ขอเบิกค่าอาหารคนไข้ให้เอง ในกรณีที่จะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นคนไข้ใน

           ๕.๒ เมื่อหมดกำหนดระยะเวลาการเรียกพลแล้ว  หากยังไม่ทุเลาคงได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลต่อไปจนกว่าจะหายหรือไม่มีทางรักษาต่อไป 

         ๖.  สิทธิในวงเงินช่วยเหลือค่าทำศพ กำลังพลสำรองที่เสียชีวิตในระหว่างเข้ารับการเรียกพล กองทัพบกจะช่วยเหลือค่าทำศพในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (เป็นไปตามอัตราที่ กห. ได้ตกลงกับ กค.)  แยกเป็นดังนี้

               ๖.๑ จ่ายเป็นค่าจัดการศพชั้นต้นรายละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท

               ๖.๒ จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีฌาปนกิจศพรายละไม่เกิน ๓,๐๐ บาท

         ๗.  สิทธิในการเลื่อนยศ

               ๗.๑ กำลังพลสำรองประเภทนายทหารสัญญาบัตร  และนายทหารประทวนที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร  การเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมและการระดมพลจะได้รับการเลื่อนยศให้สูงขึ้น

               ๗.๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาการเลื่อนยศตามข้อ  ๗.๑ ให้เป็นไปตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม และคำสั่งกองทัพบก หลักเกณฑ์ที่สำคัญๆ พอสรุปได้ดังนี้ คือ

                     ๗.๒.๑ เลื่อนยศสูงขึ้นได้ตามลำดับไม่เกินกว่าที่พันตรี, ว่าที่นาวาตรี, ว่าที่นาวาอากาศตรี

                     ๗.๒.๒ ต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร  หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมอย่างน้อย ๑ ครั้ง กับต้องดำรงยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า  ๓ ปี

                     ๗.๒.๓ ขั้นเงินเดือนจะไม่ได้รับหรือปรับให้สูงกว่าที่ได้รับอยู่ก่อนออกจากประจำการครั้งสุดท้าย

                     ๗.๒.๔ การเลื่อนยศตามหลักเกณฑ์นี้  ไม่ใช้บังคับในกรณีที่ทางราชการบรรจุนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน  หรือนายทหารประทวนกองหนุนเข้ารับราชการหลักจากเลิกการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร  หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม

         ๘.  สิทธิอื่นๆ

               ๘.๑ เงินเบี้ยหวัด บำนาญ ของผู้ถูกเรียกพลหรือระดมพลให้ถือปฏิบัติดังนี้

                     ๘.๑.๑ ผู้ถูกเรียกพลคงได้รับต่อไปตามเดิม

                     ๘.๑.๒ ผู้ถูกระดมผลให้งด

               ๘.๒ ในการระดมพล กระทรวงกลาโหมจะพิจารณาบำเหน็จความชอบให้กำลังพลสำรองตามข้อบังคับที่ถือปฏิบัติ  สำหรับกำลังพลสำรองภายนอกกระทรวงกลาโหม ให้กระทรวงกลาโหมแจ้งไปยังหน่วยงานนั้นๆ  เพื่อพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง

               ๘.๓ กำลังพลสำรองอาจได้รับสิทธิอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วตามที่กระทรวงกลาโหม หรือกองทัพบกกำหนด 
 
 
 
 
 

ตอนที่ ๖

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกองทัพบก 

การแบ่งเขตพื้นที่ปกครองทางทหาร 

      ๑.  การแบ่งเขตพื้นที่

      กองทัพบกซึ่งมีผู้บังคับบัญชาการทหารบก  เป็นผู้บังคับบัญชา  มีหน้าที่ปกครองพื้นที่ทางการทหารตลอดทั่วประเทศ  ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ  และกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพบก กระทรวงกลาโหม  พุทธศักราช ๒๕๑๓  ได้บัญญัติแบ่งเขตพื้นที่และความรับผิดชอบในการปกครองพื้นที่ทางทหารตามระดับหน่วย  คือ 
 
 

กองทัพบก

(ทบ.) 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

กองทัพภาคที่ ๑                    กองทัพภาคที่ ๒                   กองทัพภาคที่ ๓                    กองทัพภาคที่ ๔

               (ทภ.๑)                                  (ทภ.๒)                                  (ทภ.๓)                           (ทภ.๔) 
 
 
 
 
 
 
 
 

ทภ.๑ 
 
 
 
 
 
มทบ.๑๒ 
 
 
มทบ.๑๑ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จทบ.ก.จ. 
จทบ.ร.บ. 
จทบ.พ.บ. 
จทบ.ก.ท.

                                             (๑)                                                (๑)                                            (๑)

๑. กรุงเทพมหานคร          ๑. เพชรบุรี                      ๑. ราชบุรี                     ๑. กาญจนบุรี

๒.สมุทรปราการ        ๒. ประจวบคีรีขันธ์ ๒. สมุทรสงคราม ๒. สุพรรณบุรี

๓. สมุทรสาคร  

๔. นครปฐม

๕. นนทบุรี 
 
 
 
 
 
 
 

๖. ปทุมธานี 

จทบ.ป.จ. 
จทบ.ฉ.ช. 
จทบ.ส.ก. 
 

                  ๑. ปราจีนบุรี ๑. ฉะเชิงเทรา ๑. สระแก้ว

                  ๒. นครนายก  (ยังไม่จัดตั้ง) 
 
 
 
 
 
 

มทบ.๑๔ 
มทบ.๑๓ 
 
 
 
 
จทบ.ช.บ. 
จทบ.ส.บ. 
 
 
 
 
จทบ.ล.บ. 
 
 
 
 
 

      ๑. ลพบุรี   ๑. สระบุรี ๑. ชลบุรี

      ๒. สิงห์บุรี  ๒. พระนครศรีอยุธยา ๒. ระยอง

      ๓. ชัยนาท   ๓.จันทบุรี

      ๔. อ่างทอง   ๔. ตราด 
 

ทภ.๒ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มทบ.๒๒ 
มทบ.๒๑ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จทบ.ร.อ. 
 
 
 
 
 
 
จทบ.อ.บ. 
จทบ.บ.ร. 
จทบ.ส.ร. 
จทบ.น.ม.
มทบ.๒๔ 
มทบ.๒๓ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

                                                                                                     (๒)      (๒)                     (๑) 

จทบ.น.พ. 
จทบ.อ.ด. 
จทบ.ส.น. 
จทบ.ล.ย. 
จทบ.ข.ก.

      

๑. ขอนแก่น ๑. เลย ๑. อุดรธานี ๑. นครพนม ๑. สกลนคร

๒. มหาสารคาม  ๒. หนองคาย 

๓. กาฬสินธุ์  ๓. หนองบัวลำภู  
 
 
 
 

(๑) จทบ.ชั้นหนึ่ง

(๒) จทบ.ชั้นสอง 
 
 
 
 

ทภ.๓ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มทบ.๓๑ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

                                                     (๑)                                                     (๒)                                                     (๑) 

จทบ.พ.ช. 
จทบ.ต.ก. 
จทบ.พ.ล. 
จทบ.น.ว. 
 

๑. นครสวรรค์ ๑. พิษณุโลก ๑. ตาก ๑. เพชรบูรณ์

๒. อุทัยธานี ๒. สุโขทัย  ๒. พิจิตร

๓. กำแพงเพชร  
 
 
 
 
 
 
 
 

มทบ.๓๒ 
 
 
 
 
 
 
 
จทบ.พ.ย. 
จทบ.น.น. 
จทบ.อ.ต. 
จทบ.ล.ป. 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

                                                                                                    (๑)                                                      (๑)                                                           (๒) 
 

            ๑. ลำปาง ๑. พะเยา ๑. อุตรดิตถ์ ๑. น่าน

                        ๒. แพร่ 

มทบ.๓๓ 
 
 
 
 
 
จทบ.ช.ม. 
จทบ.ช.ร. 
 
 
 
 
 

                     (๒) 
 

๑. เชียงใหม่ ๑. เชียงราย

๒. ลำพูน

๓. แม่ฮ่องสอน 

(๑) จทบ.ชั้นหนึ่ง

(๒) จทบ.ชั้นสอง 
 

ทภ.๔ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มทบ.๔๑ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จทบ.ท.ส. 
จทบ.ช.พ. 
จทบ.ส.ฏ. 
จทบ.น.ศ.

                                                                                        (๑)                                                      (๑)                                                        (๑) 
 

๑. นครศรีธรรมราช ๑. สุราษฎร์ธานี ๑. ชุมพร ๑. อ.ทุ่งสง

๒. กระบี่  ๒. ระนอง ๒. ตรัง

๓. พังงา

๔. ภูเก็ต 
 

จทบ.น.ศ. 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จทบ.น.ศ. 
 
 
 
 
 
 
จทบ.น.ศ.

                                                                                                                                       (๑) 
 

      ๑. สงขลา ๑. ปัตตานี

      ๒. พัทลุง ๒. ยะลา

      ๓. สตูล ๓. นราธิวาส 
 
 

(๑)  จทบ.ชั้นหนึ่ง 
 
 
 
 
 
 

      ๒.  ผู้บังคับบัญชา

            ตามแผนผังการแบ่งเขตพื้นที่ซึ่งแสดงข้างต้นจะเห็นว่า  การแบ่งเขตพื้นที่การปกครองทางทหาร ได้ถือเขตพื้นที่จังหวัดเป็นหลักในการตั้งจังหวัดทหารบก คือ ในจังหวัดทหารบกหนึ่งมีเขตพื้นที่หนึ่งหรือหลายจังหวัด  มีผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการมณฑลทหารบก

            มณฑลทหารบก  เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาค มีแม่ทัพภาคเป็นผู้บังคับบัญชา กองทัพภาคต่างๆ  จัดเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพบก

      ๓.  ที่ตั้ง

            มณฑลทหารบกที่ ๑๑     ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร

            มณฑลทหารบกที่ ๑๒ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดปราจีนบุรี

            มณฑลทหารบกที่ ๑๓     ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

            มณฑลทหารบกที่ ๑๔    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี

            มณฑลทหารบกที่ ๒๑    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา

            มณฑลทหารบกที่ ๒๒    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี

            มณฑลทหารบกที่ ๒๓   ตั้งอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น

            มณฑลทหารบกที่ ๒๔    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดอุดรธานี

            มณฑลทหารบกที่ ๓๑    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครสวรรค์

            มณฑลทหารบกที่ ๓๒    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลำปาง

            มณฑลทหารบกที่ ๓๓    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่

            มณฑลทหารบกที่ ๔๑    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

            มณฑลทหารบกที่ ๔๒    ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสงขลา

กองทัพภาค จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารและใช้ชื่อหน่วยเป็นหมายเลข  คือ

            กองทัพภาคที่ ๑    ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

            กองทัพภาคที่ ๒ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา

            กองทัพภาคที่ ๓ ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก

            กองทัพภาคที่ ๔ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

      ๔.  สัสดีจังหวัด สัสดีอำเภอ สัสดีกิ่งอำเภอ

            เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร นอกจากได้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยดังกล่าวแล้ว ณ ศาลากลางจังหวัดและที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอทุกแห่ง กองทัพบกยังได้จัดเจ้าหน้าที่สัสดีจังหวัด  สัสดีอำเภอ  สัสดีกิ่งอำเภอ  ออกไปประจำปฏิบัติงาน  โดยจัดตั้งเป็นแผนกหนึ่งของจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอนั้นๆ มีหน้าที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร รวมทั้งหน้าที่อื่นๆ ตามที่ทางราชการทหารจะมอบหมายให้ 
 

ที่ตั้งค่ายทหาร

 

 
  

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความเกี่ยวพันในทางทหารสำหรับ

นักศึกษาวิชาทหาร

เมื่อเป็นทหารกองหนุน 

      ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะเมื่อนักศึกษาวิชาทหารสำเร็จการฝึกวิชาหทารสมบูรณ์แล้ว กรมการรักษาดินแดงจะนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการและปลดเป็นกองหนุน เมื่อมีสภาพเป็นทหารกองหนุนแล้ว  ท่านจะต้องมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้  คือ

      มี เครื่องหมาย  คือ เลขทะเบียนกองประจำการ

      มี เหล่า  เช่น  เหล่าทหารราบ  เหล่าทหารม้า  เป็นต้น

      มี ยศทางทหาร  คือ กองทัพบกแต่งตั้งให้ท่านมียศ ตามหลักเกณฑ์ที่ท่านควรได้รับ  โดยพิจารณาการสำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นใด ประกอบการแต่งตั้งยศชั้น

      มี ต้นสังกัด  คือ เมื่อท่านเป็นทหารกองหนุนแล้ว  จะต้องมีผู้บังคับบัญชา  ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด  เช่น  สังกัดจังหวัดทหารบกกรุงเทพ  ก็มีผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกรุงเทพ  เป็นผู้บังคับบัญชา  เป็นต้น

      เมื่อท่านมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้แล้วก็พ้นจากความรับผิดชอบของกรมการรักษาดินแดน

      หากมียศในฐานะนายทหารประทวนหรือยังไม่มียศ ต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๓๖

      หากมียศในฐานะนายทหารสัญญาบัตร  ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ข้อบังคับทหารที่ ๑๑/๑๖๕๓๑/๒๔๘๒  ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้นกำหนดไว้ทุกประการ

      ความเกี่ยวพันทางทหาร เมื่อนักศึกษาวิชาทหารเป็นทหารกองหนุนแล้ว  คือ ในกรณีที่ยังมิได้ขอแต่งตั้งยศ ต้องผูกพันอยู่กับกรมการรักษาดินแดน  ในฐานะเป็นหน่วยที่ต้องดำเนินการขอแต่งตั้งยศให้ตามสิทธิเมื่อนักศึกษาวิชาทหารร้องขอรับสิทธในการแต่งตั้งยศและได้รับการแต่งตั้งยศ ก็พ้นความผูกพันจากฐานะนักศึกษาวิชาทหาร

      จังหวัดทหารบก

      ในฐานะที่เป็นหน่วยบังคับบัญชา  และควบคุมทางบัญชีทั้งที่ยังมิได้แต่งตั้งยศ  หรือได้รับการแต่งตั้งยศแล้ว

      กรมการกำลังสำรองทหารบก

      ความผูกพันแต่ละขั้นอาจเกี่ยวข้องกับกรมการรักษาดินแดน หรือจังหวัดทหารบกก็ได้ ในฐานะที่เป็นฝ่ายกิจกรรมพิเศษของกองทัพบก  และมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการกำลังสำรองทั้งปวง  คือ ทหารกองเกินและทหารกองหนุน โดยจัดการควบคุมการใช้กำลังสำรอง การจัดหากำลังสำรองเพื่อสนับสนุนกิจการทางทหารให้มีสภาพอยู่ในความพร้อมที่จะใช้ได้ทันกับเหตุการณ์

      นอกจากนี้กรมการกำลังสำรองทหารบก  ยังมีความผูกพันกับเหล่าสายวิทยาการที่ทหารกองหนุนสังกัดอยู่  เหล่าสายวิทยาการเป็นหน่วยรับผิดชอบทางคุณวุฒิของทหารกองหนุนแต่ละบุคคล  ต้องได้รับคุณวุฒิเป็นเหล่าอันหมายถึงวิชาการทหารทั้งปวง บุคคลอยู่ในเหล่าใดหากมีปัญหาที่เกี่ยวกับวิชาการทางทหาร  เหล่าจะเป็นหน่วยที่ให้ความรู้เพิ่มเติม  ให้ความชำนาญทางทหารเพิ่มแก่แต่ละคน  ซึ่งแต่ละหล่ามีภารกิจความสำคัญไม่เหมือนกันแต่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา

      เหล่าสายวิทยาการมีหน้าที่ให้ความรู้  ให้การฝึกแก่ทหารทุกคนที่สังกัดในเหล่าเป็นการเพิ่มเติม เพราะทหารกองหนุนที่มาจากนักศึกษาวิชาทหารก็ตาม ที่มาจากทหารกองประจำการ หรือมาจากทหารประจำการแล้วลาออกจากราชการก็ตาม  ความยาวนานที่พ้นจากหน้าที่ทางทหาร ความรู้ความชำนาญวิชาทหารในเหล่าย่อมเรื้อและหลงลืมไป  ในปัจจุบันนี้วิทยาการทางทหารสมัยใหม่ได้ก้าวหน้าไปมาก  เป็นต้น การใช้อาวุธประจำหน่วย อาวุธประจำกาย วิธีการรบ ตลอดจนการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก  จำเป็นที่กองทัพบกต้องเตรียมทหารกองหนุนให้มีสภาพพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่แต่ละเหล่าให้สมบูรณ์ไว้ด้วยการให้มีการฝึกวิชาทหาร การทดลองความพรั่งพร้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่สถานการณ์ของประเทศและงบประมาณทางทหารจะอำนวยให้ ดังจะเห็นได้ในปัจจุบันกองทัพบกได้เรียกท่านเข้าฝึกวิชาทหาร พวกท่านที่เป็นนายทหารหรือนายสิ  จะต้องเข้ารับการฝึกที่เหล่าสายวิทยาการก่อนเพื่อเพิ่มพูนความรู้  จากนั้นจึงจะเข้าฝึกเป็นหน่วยร่วมกับพวกทหาร

      ฉะนั้น เหล่าสายวิทยาการจึงมีความสำคัญอีกแขนงหนึ่งที่ทหารกองหนุนต้องทราบไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่า เหตุใดทหารทุกคนจึงต้องมีเหล่าด้วย อันเหล่าต่างๆ มีที่ตั้งอยู่ที่ใดบ้างจะได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้

      เหล่าทหารราบ (ร)  ตั้งอยู่ที่ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มีชื่อทางราชการว่า  ศูนย์การทหารราบ มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  ผู้บังคับบัญชาการศูนย์การทหารราบ เรียกย่อว่า “ผบ.ศร.”  มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทหารราบทั้งปวง

      เหล่าทหารม้า (ม.) ตั้งอยู่ที่ค่ายอดิศร   อำเภอเมือง   จังหวัดสระบุรี มีชื่อทางราชการว่าศูนย์การทหารม้า        มีผู้บังคับบัญชาการเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี  เรียกว่า    ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าเรียกย่อว่า “ผบ.ศม.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับหารม้าทั้งปวง รวมทั้งทหารม้ายานเกราะด้วย

      เหล่าทหารปืนใหญ่ (ป.)  ตั้งอยู่ค่ายพหลโยธิน  อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มีชื่อทางราชการว่า  ศูนย์การทหารปืนใหญ่ มีผู้บังคับบัญชาการเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี  เรียกว่า  ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ เรียกย่อว่า “ผบ.ศป.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารปืนใหญ่ทั้งปวง

      เหล่าทหารช่าง  (ช.)  ตั้งอยู่ที่ค่ายภาณุรังษี  อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี  มีชื่อทางราชการว่า  กรมการทหารช่าง  มีผู้บังคับบัญชาการเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า  เจ้ากรมการทหารช่าง  เรียกย่อว่า “จก.กช.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารช่างทั้งปวง

      เหล่าทหารสื่อสาร (ส.)  ตั้งอยู่ที่บริเวณสะพานแดง บางซื่อ มีชื่อทางราชการว่า  กรมการทหารสื่อสาร มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  เจ้ากรมการทหารสื่อสาร เรียกย่อว่า “จก.สส.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสื่อสารทั้งปวง

      เหล่าทหารขนส่ง  (ขส.)  ตั้งอยู่บริเวณสะพานแดง บางซื่อ มีชื่อทางราชการว่า กรมการขนส่งทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมการขนส่งทหารบก เรียกย่อว่า “จก.ขส.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารขนส่งทั้งปวง

      เหล่าทหารสรรพาวุธ  (สพ.)  ตั้งอยู่ที่บริเวณสะพานแดง  บางซื่อ มีชื่อทางราชการว่า  กรมสรรพาวุธทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เรียกย่อว่า “จก.สพ.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสรรพาวุธทั้งปวง

      เหล่าทหารแพทย์ (พ.)  ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  พญาไท มีชื่อทางราชการว่า  กรมแพทย์ทหารบก  ผู้บังคับบัญชาเป็นหัวเหล่ายศพลโท  เรียกว่า  เจ้ากรมแพทย์ทหารบก  เรียกย่อว่า “จก.พบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารแพทย์ทั้งปวง

      เหล่าทหารการสัตว์  (กส.)  ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม  มีชื่อทางราชการว่า  กรมการสัตว์ทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เรียกย่อว่า “จก.กส.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารการสัตว์ทั้งปวง

      เหล่าทหารพลาธิการ  (พธ.)  ตั้งอยู่ที่ปากทางเข้าสนามบินน้ำ อำเภอเมือง  จังหวัดนนทบุรี  มีชื่อทางราชการว่า กรมพลาธิการทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมพลาธิการทหารบก เรียกย่อว่า “จก.พธ.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารพลาธิการทั้งปวง

      เหล่าทหารสารวัตร (สห.)  ตั้งอยู่ที่ถนนโยธี  ตรงข้ามคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมการสารวัตรทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  เจ้ากรมการสารวัตรทหารบก เรียกย่อว่า “จก.สห.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสารวัตรทั้งปวง

      เหล่าทหารสารบรรณ (สบ.)  ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก  จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า  กรมสารบรรณทหารบก  มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  เจ้ากรมสารบรรณทหารบก  เรียกย่อว่า “จก.สบ.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสารบรรณทั้งปวง

      เหล่าทหารการเงิน (กง.)  ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก  จังหวัดกรุงเทพมหานคร  มีชื่อทางราชการว่า  กรมการเงินทหารบก  มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  เจ้ากรมการเงินทหารบก เรียกย่อว่า “จก.กง.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารการเงินทั้งปวง

      เหล่าทหารแผนที่  (ผท.) ตั้งอยู่ที่ข้างกระทรวงกลาโหม จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า  กรมแผนที่ทหาร มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมแผนที่ทหาร เรียกย่อว่า “จก.ผท.ทหาร”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารแผนที่ทั้งปวง

      เหล่าทหารพระธรรมนูญ  (ธน.)  ตั้งอยู่ข้างกระทรวงกลาโหม จังหวัดกรุงเทพมหานคร  มีชื่อทางราชการว่า  กรมพระธรรมนูญ มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท  เรียกว่า  เจ้ากรมพระธรรมนูญ เรียกย่อว่า “จก.ธน.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับพระธรรมนูญทั้งปวง

      เหล่าทหารดุริยางค์ (ดย.)  ตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร  มีชื่อทางราชการว่า  กองดุริยางค์ทหารบก  มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพันเอก (พิเศษ)  เรียกว่า  ผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารบก เรียกย่อว่า “ผบ.ดย.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารดุริยางค์ทั้งปวง

      เหล่าทหารการข่าว (ขว.)  ตั้งอยู่ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร  มีชื่อทางราชการว่า  กรมข่าวทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า  เจ้ากรมข่าวทหารบก เรียกย่อว่า “จก.ขว.ทบ.”  มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารการข่าวทั้งปวง

      เหล่าทหารต่างๆ ตามที่กล่าวมานี้  ต่างเหล่าต่างมีหน้าที่ให้ความรู้ทางทหารเพิ่มเติมแก่ผู้อยู่ในเหล่าโดยทั่วกัน ฉะนั้น  เมื่อมีการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารครั้งใด  ทหารกองหนุนที่อยู่ในเหล่าใด ต่างก็ต้องเข้ารับการฝึก ฝึกต่อไปจนจบการฝึกวิชาทหารในครั้งนั้นๆ 
 
 
 
 
 
 
 

O O O O O O O O O O O O O