.:: นนส.ทบ. ทหารช่าง ::. พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน ( พระบิดาทหารช่าง )
ที่นี่ !  เราฝึกคนให้เป็นผู้นำ...
1.
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง มยุรฉัตร *
2.
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เปรมบุรฉัตร *
3.
หม่อมเจ้าหญิง ฉัตรสุดา ฉัตรไชย
4.
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง วิมลฉัตร *
5.
หม่อมเจ้าหญิง กาณจนฉัตร ฉัตรไชย
6.
หม่อมเจ้าหญิง ภัทรลดา ฉัตรไชย
7.
หม่อมเจ้าชาย สุรฉัตร ฉัตรไชย
8.
หม่อมเจ้าหญิง เฟื่องฉัตร ฉัตรไชย
9.
หม่อมเจ้าหญิง หิรัญฉัตร ฉัตรไชย
10.
หม่อมเจ้าชาย ทิพยฉัตร ฉัตรไชย
11.
หม่อมเจ้าหญิง พิบูลฉัตร ฉัตรไชย
..............................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................
   ขอขอบคุณ   ผู้สนับสนุนข้อมูลและภาพ
-:เว็บไซต์ รร.นส.ทบ. และ กรมการทหารช่าง
-:ศูนย์ประสานงาน รร.นส.ทบ.
-:จ.ส.อ.พิสุทธิ์  อุณหะ ที่ให้คำปรึกษา
   ที่นี่ !    เราฝึกคนให้เป็นผู้นำ ....
จัดทำโดย ส.อ.กิตติ  ไกรมะณี  NCO.4/43 (ช.65/44)
ติดต่อ Webmaster :: kittikraimanee@gmail.com
แนะนำเว็บไซต์  ::   http://www.tahanchang.com/ 

การเศกสมรส
               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชาย บุรฉัตรไชยากร ทรงเศกสมรสกับพระองค์เจ้าหญิง ประภาว สิทธินฤมลในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์ เมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2447

การสถาปณาพระราชอิสริยยศ
               27 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 ทรงพระกรุณาโปดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน
               11 พฤษภาคม พ.ศ.2459 เลื่อนพระราชอิสริยยศเป็น กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน
               11 พฤษภาคม พ.ศ.2465 เลื่อนพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน
               8 พฤษภาคม พ.ศ.2472 เลื่อนพระราชอิสริยยศเป็น กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

ดำรงพระยศทางทหาร
               21 พฤศจิกายน พ.ศ.2445 ได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยตรี เหล่าทหารช่าง
               10 ธันวาคม พ.ศ.2447 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็น นายพันตรี
               21 กันยายน พ.ศ.2449 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็น นายพันเอก
               11 พฤษภาคม พ.ศ.2451 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็น นายพลตรี
               11 เมษายน พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็น นายพลโท
               11 เมษายน พ.ศ.2462 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็น นายพลเอก

ตำแหน่งทางทหาร
               21 กันยายน พ.ศ.2449 เมื่อได้ทรงดำรงพระยศ นายพันเอกทรงรับตำแหน่งเป็น จเรทหารช่าง
               11 พฤษภาคม พ.ศ.2451 เมื่อเลื่อนขึ้นดำรงพระยศเป็น นายพลตรี ทรงรับตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นราชองค์รักษ์พิเศษ และยัง ดำรงตำแหน่ง จเรทหารช่าง
               30 ธันวาคม พ.ศ.2453 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดระเบียบปกครองบังคับบัญชา กองทัพบกเสียใหม่โดย แบ่งออกเป็นภาค และโปรดให้นายพลตรีกรมหมื่นพระกำแพง เพชรอัครโยธินเป็นผู้รั้งตำแหน่งแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 และยังคงทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และ รั้งตำแหน่ง จเรทหารช่างด้วย
               7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2453 ตามคำสั่ง กรมทหารบกที่ 33/5880 ให้ พลตรี กรมหมื่น กำแพงเพชรอัคร โยธิน รั้งจเรทหารปืนใหญ่เพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง
               9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 นายพลตรี กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้รั้งตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 มาหนึ่งปี ราชการดำเนินเรียบร้อยดี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น แม่ทัพกองทัพที่ 1 เลยทีเดียว และรั้งตำแหน่งจเรทหารช่างด้วย
               23 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 นายพลโทกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน กราบถวายบังคมลาออกไปประเทศอียิปต์และยุโรป มีกำหนด 1 ปี เพื่อรักษาพระองค์ และ ทอดพระเนตรการทหารช่างของยุโรปซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงในชั้นสูงอย่างรวดเร็ว ทรงมีพระราชดำริว่า กองทัพบกไทยจะต้องกวดขัน ในแผนกทหารช่างให้ดียิ่งขึ้นไปอีกทรงโปรด เกล้า ฯ ให้นายพลโท กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธินทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่าง แต่อย่างเดียว และให้เร่งรัด เรื่องของทหารช่างให้เร็วที่สุด
                5 ธันวาคม พ.ศ.2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นจเรทหารบก และ จเรทหารช่าง

ตำแหน่งทางพลเรือน
               22 กรกฎาคม พ.ศ.2459 รัฐบาลไทยประกาศสงครามโลกครั้งที่ 1 เข้าข้างฝ่าย สัมพันธมิตร ทำให้ ตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟหลวงสายเหนือซึ่งเป็นชาวเยอรมันว่างลง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายพลโทกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง รักษาการในตำแหน่งที่ว่างอีกตำแหน่งหนึ่ง
               5 มิถุนายน พ.ศ.2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้ เข้าเป็นกรมเดียวกันเรียกชื่อว่า "กรมรถไฟหลวง" และโปรดเกล้า ฯให้ นาย พลโท กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง
               1 มิถุนายน พ.ศ.2469 ทรงรั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม
               14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 ทรงเป็นประธานกรรมการกำหนดคลื่นวิทยุ
               5 มิถุนายน พ.ศ.2460 – 15 พฤษภาคม พ.ศ.2469 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็น เสนาบดีกระทรงพาณิชย์และคมนาคม
               27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2470 ทรงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง คงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม เพียงตำแหน่งเดียว และทรงเป็นนายกสภาเผยแพร่พาณิชย์ กับนายกสภาการจัดบำรุงท้องที่ชายทะเล
               พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน เป็นอภิรัฐมนตรี

บั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ
               ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระองค์ได้หลบหลีกจาก การเกาะกุมพระองค์ ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกล กังวล หัวหิน โดยทางรถไฟหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วเสด็จในกรม พระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้เสด็จแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพิธีต่างๆ อยู่เป็นเนืองนิตย์จนถึงปี พ.ศ. 2477 แล้วจึงได้ทรงพาครอบครัวเสด็จ ออกไปพำนักตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองสิงคโปร์ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2478 ทรงได้รับเลือกตั้ง ให้ทรงเป็นผู้ว่าภาค (ก่อตั้ง) ของสโมสรโรตารี่สากล ภาคที่ 80 เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้เสด็จกลับมาเยือนเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2479 ถึงแม้ว่าจะประชวรอยู่ ก็ยังห่วงใยทรงไต่ถามถึงความก้าวหน้า ของการคลังออมสินอยู่เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สิ้นพระชนม์โดยปัจจุบัน ณ โรงพยาบาล ในเมืองสิงคโปร์ เมื่อ 14 กันยายน พ.ศ.2479 คำนวณชันษาได้ 54 ปี 7 เดือน 22 วัน พระองค์เจ้าชาย บุรฉัตรไชยากร มีพระนามเต็มว่า " นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทรเจษฎาภาดา ปิยมหาราชวงศวิศิษฏ์ เอนกเนตรวิจิตรกรโกศลวิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชรันธรีมโหฬาร พาณิชยการ คมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดา มัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตรชัยดิลกบพิตร "     ทรงเป็นต้นราชตระกูล   " ฉัตรชัย "   ทรงมีพระโอรสพระธิดา รวม 11 พระองค์

 

        

 


               ปี พ.ศ.2460 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงด้านสัญญาณประแจกล และโทรคมนาคมของกรมรถไฟหลวงใหม่โดยเริ่มมีการใช้โทรศัพท์ทางไกล เครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติและเครื่องตราทางสะดวก แทนการขอทางด้วยเครื่องโทรเลข ทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆของกรมรถไฟหลวง พร้อมทั้งเชื่อมเส้นทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน ทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมา ไปถึงอุบลราชธานีสายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ ทรงจัด สร้างรถไฟพระที่นั่ง ในปี พ.ศ.2471ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซลมีกำลัง 180 แรงม้า ส่งผ่านกำลังด้วยการกล จำนวน 2 คัน เข้ามาใช้เป็นรุ่นแรกในประเทศไทย และเป็นรายแรกในทวีปเอเชีย และปรับปรุงกิจการของรถไฟ โดยทรงสร้างโรงแรมราชธานี ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ โรงแรมรถไฟหัวหิน และโรงแรมวังพญาไท และต่อมาในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2460 เมื่อประเทศไทยประกาศสงครามกับเยอรมันได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้วิศวกรไทยเข้าบริหารแทนนายช่างเยอรมันในการเจาะถ้ำขุนตานในทางสายเหนือที่ยังค้างอยู่ภายใต้การควบคุมของจเรทหารช่าง และให้ทหารช่างทำการวางรางรถไฟต่อจากสถานีขุนตานจนถึงเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ.2462 ได้ทรงเริ่มการสำรวจขุดเจาะน้ำมันดิบ ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
               พ.ศ.2468 นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งจเรการช่างทหารบก และนายพันโท พระอร่ามรณชิต หัวหน้าแผนกที่ 2 กรมจเรการช่างทหารบก ได้ออกแบบเครื่องวิทยุโทรเลข โทรศัพท์ขึ้นใหม่ขนานนามว่า “ จ.ช.1 ” (จเรการชั่ง 1 ) รับสั่งได้ไกลถึง 350 กม.เท่ากับเครื่องมาร์โคนี่ ซึ่งแรงที่สุดในสมัยนั้น แต่กินไฟน้อยกว่า น้ำหนักเบากว่า และราคาก็ถูกำกว่าหลายเท่าตัวและได้ทรงประทานความคิดนี้เป็นกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงกลาโหม ต่อมาในปี พ.ศ.2469 ขณะทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานกรรมการกำหนดคลื่นวิทยุ ได้ทรงวางหลักการควบคุมไปรษณีย์ให้ทันสมัย และขยายโครงการวิทยุให้กวางขวางเชื่อมการคมนาคมกับประเทศต่างๆ รวมทั้งการสื่อสารต่างๆ และการส่งข่าวทางหนังสือพิมพ์ และในปี พ.ศ.2470 ได้ทรงริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทย โดยทรงตั้งเครื่องส่งกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้เพื่อค้นคว้าเป็นการส่วนพระองค์ให้ชื่อสถานี “ HS 1 PJ ” ซึ่งอักษร PJ มาจากคำว่า “ บุรฉัตรไชยากร ” ต่อมาได้ทรงตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น โดยสั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลองใช้ให้อยู่ในความควบคุมของการช่างวิทยุกรมไปรษณีย์ ตั้งสถานีที่ตึกทำการไปรษณีย์โทรเลขปากคลองโอ่งอ่างตำบลราชบูรณะ ให้ชื่อสถานีว่า “ HS 4 PJ ” และต่อมาได้ประกอบเครื่องส่งเอง ขนาด 1 กิโลวัตต์ ใช้คลื่นขนาดกลางทำการทดสอบที่ตำบลศาลาแดง ใช้ชื่อสถานีว่า “ HS II PJ ” ปรากฏว่ารับฟังได้ดีทั่วทั้งราชอาณาจักรโดยใช้เครื่องรับชนิดหลอดอย่างปานกลาง
               และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2472 วันพระราชพิธีฉัตรมงคลได้ทรงเปิดการวิทยุกระจายเสียงเป็นการประจำปฐมฤกษ์ ได้ใช้ชื่อสถานีว่า “ สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ” ตั้งสถานีอยู่ที่พระราชวังพญาไท ใช้เครื่องส่งฟิลลิปส์ กำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์โดยอัญเชิญพระแส พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยเข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสายไปเข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกรได้รับฟังเป็นที่ปีติยินดีทั่วกัน นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุในประเทศไทยด้วยกระแสพระราชดำรัสเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก มีข้อความว่า “ การวิทยุกระจ่ายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชนเพื่อควบคุม การนี้เราให้แก้ไขพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยาที่แล้ว และบัดนี้ได้เครื่องส่งกระจ่ายเสียงอย่างดีเข้ามาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงขอถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้….”
               ในฐานะเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ทรงประกาศให้เรือทุกลำที่อยู่ในน่านน้ำสยาม ใช้วิทยุติดต่อกับสถานีของกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ และได้ทรงเริ่มเร่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทยเพื่อส่งเป็นสินค้าออก อาทิ เช่น ข้าว,ยางพารา,มะพร้าวแห้ง และครั่ง ฯลฯ
               พ.ศ.2471 ทรงอำนวยการสร้างสะพานลอยแห่งแรกของประเทศไทย คือ สะพานกษัตริย์ศึกข้ามทางรถไฟเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และความสะดวกของการจราจร
               เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2472 ได้ทรงเป็นประธานเปิดประมูลการสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งกระทำกัน ที่ประเทศอังกฤษต่อหน้าคณะกรรมการ ประกอบด้วยวิศวกรไทย 3 คน และวิศวกรต่างประเทศ 4 คน มีบริษัทเข้าร่วมประมูล 6 บริษัทด้วยกัน แล้วโทรเลขแจ้งผลการประมูลเข้ามาทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเข้าที่ประชุมคณะอภิรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2472 ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรตกลงให้บริษัทดอร์แมนลอง เป็นผู้ทำเพราะราคาต่ำที่สุด และฐานะของบริษัทก็ทัดเทียมกับบริษัทอื่น จึงทรงพระกรุณาโปดเกล้าฯ ให้โทรเลขไปทูลให้ พลเอก กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงทราบถึงมติของคณะอภิรัฐมนตรี เมื่อทรงทราบมติแล้ว จึงได้ทรงลงพระนามในสัญญาว่าจ้างกับบริษัทดอร์แมนลอง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2472


               ปี พ.ศ.2460 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงด้านสัญญาณประแจกล และโทรคมนาคมของกรมรถไฟหลวงใหม่โดยเริ่มมีการใช้โทรศัพท์ทางไกล เครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติและเครื่องตราทางสะดวก แทนการขอทางด้วยเครื่องโทรเลข ทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆของกรมรถไฟหลวง พร้อมทั้งเชื่อมเส้นทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน ทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมา ไปถึงอุบลราชธานีสายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ ทรงจัด สร้างรถไฟพระที่นั่ง ในปี พ.ศ.2471ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซลมีกำลัง 180 แรงม้า ส่งผ่านกำลังด้วยการกล จำนวน 2 คัน เข้ามาใช้เป็นรุ่นแรกในประเทศไทย และเป็นรายแรกในทวีปเอเชีย และปรับปรุงกิจการของรถไฟ โดยทรงสร้างโรงแรมราชธานี ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ โรงแรมรถไฟหัวหิน และโรงแรมวังพญาไท และต่อมาในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2460 เมื่อประเทศไทยประกาศสงครามกับเยอรมันได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้วิศวกรไทยเข้าบริหารแทนนายช่างเยอรมันในการเจาะถ้ำขุนตานในทางสายเหนือที่ยังค้างอยู่ภายใต้การควบคุมของจเรทหารช่าง และให้ทหารช่างทำการวางรางรถไฟต่อจากสถานีขุนตานจนถึงเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ.2462 ได้ทรงเริ่มการสำรวจขุดเจาะน้ำมันดิบ ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
               พ.ศ.2468 นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งจเรการช่างทหารบก และนายพันโท พระอร่ามรณชิต หัวหน้าแผนกที่ 2 กรมจเรการช่างทหารบก ได้ออกแบบเครื่องวิทยุโทรเลข โทรศัพท์ขึ้นใหม่ขนานนามว่า “ จ.ช.1 ” (จเรการช่าง 1 ) รับสั่งได้ไกลถึง 350 กม.เท่ากับเครื่องมาร์โคนี่ ซึ่งแรงที่สุดในสมัยนั้น แต่กินไฟน้อยกว่า น้ำหนักเบากว่า และราคาก็ถูกำกว่าหลายเท่าตัวและได้ทรงประทานความคิดนี้เป็นกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงกลาโหม ต่อมาในปี พ.ศ.2469 ขณะทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานกรรมการกำหนดคลื่นวิทยุ ได้ทรงวางหลักการควบคุมไปรษณีย์ให้ทันสมัย และขยายโครงการวิทยุให้กวางขวางเชื่อมการคมนาคมกับประเทศต่างๆ รวมทั้งการสื่อสารต่างๆ และการส่งข่าวทางหนังสือพิมพ์ และในปี พ.ศ.2470 ได้ทรงริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทย โดยทรงตั้งเครื่องส่งกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้เพื่อค้นคว้าเป็นการส่วนพระองค์ให้ชื่อสถานี “ HS 1 PJ ” ซึ่งอักษร PJ มาจากคำว่า “ บุรฉัตรไชยากร ” ต่อมาได้ทรงตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น โดยสั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลองใช้ให้อยู่ในความควบคุมของการช่างวิทยุกรมไปรษณีย์ ตั้งสถานีที่ตึกทำการไปรษณีย์โทรเลขปากคลองโอ่งอ่างตำบลราชบูรณะ ให้ชื่อสถานีว่า “ HS 4 PJ ” และต่อมาได้ประกอบเครื่องส่งเอง ขนาด 1 กิโลวัตต์ ใช้คลื่นขนาดกลางทำการทดสอบที่ตำบลศาลาแดง ใช้ชื่อสถานีว่า “ HS II PJ ” ปรากฏว่ารับฟังได้ดีทั่วทั้งราชอาณาจักรโดยใช้เครื่องรับชนิดหลอดอย่างปานกลาง
               และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2472 วันพระราชพิธีฉัตรมงคลได้ทรงเปิดการวิทยุกระจายเสียงเป็นการประจำปฐมฤกษ์ ได้ใช้ชื่อสถานีว่า “ สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ” ตั้งสถานีอยู่ที่พระราชวังพญาไท ใช้เครื่องส่งฟิลลิปส์ กำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์โดยอัญเชิญพระแส พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยเข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสายไปเข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกรได้รับฟังเป็นที่ปีติยินดีทั่วกัน นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุในประเทศไทยด้วยกระแสพระราชดำรัสเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก มีข้อความว่า “ การวิทยุกระจ่ายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชนเพื่อควบคุม การนี้เราให้แก้ไขพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยาที่แล้ว และบัดนี้ได้เครื่องส่งกระจ่ายเสียงอย่างดีเข้ามาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงขอถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้….”

ทรงประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญ
               ในปี พ.ศ.2453 ได้มีนักบินสัญชาติเบลเยี่ยม ชื่อ นายวันเดล เบอร์น ได้มาแสดงการบินเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สนามม้าปทุมวันมีพระราชวงค์ ข้าราชการ ตลอดจนชาวต่างประเทศและประชาชนไปชมอย่างเนืองแน่น นายพลตรีกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้แสดงให้เห็นว่าอะไรที่ฝรั่งทำได้คนไทยก็ทำได้โดยเสด็จขึ้นบินกับฝรั่งนับเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นเครื่องบิน
               และในฐานะจเรทหารช่าง ได้นำความกราบบังคมทูลให้ทรงเห็นความสำคัญของการบินอันจะเกิดแก่กองทับไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกนายทหารส่งไปศึกษาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส จนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2456นายทหารทั้ง3นาย ที่ส่งไปศึกษาการบิน ได้กลับมาประเทศไทย พร้อมด้วยเครื่องบินจำนวน 8 ลำ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งแผนการบินทหารบกขึ้น โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของ พลโทกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง
              


               เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยแล้ว พระองค์ทรงรับราชการทหารเป็นนายพันตรี เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ในขณะที่มีพระชนม์ได้ 24 พรรษา และทรงได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็นนายพันเอก เมื่อปี พ.ศ.2449 ในปี พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้จัดตั้งจเรทหารช่างขึ้น โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พันเอก พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งจเรทหารช่าง พระองค์แรก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2468ตลอดระยะเวลาที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้ ทรงฝึกฝนอบรมทางด้านวิชาการให้แก่เหล่าทหารช่างอย่างเต็มพระกำลัง ทรงปรับปรุงวิชาทหารช่าง ให้ทันสมัย และเจริญทัดเทียมประเทศตะวันตก ทรงวางระเบียบการช่างทหารให้เป็นรากฐานของเหล่า ทำให้กิจการของเหล่าทหารช่างเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์ทรงดำเนินการฝึกฝนอบรมวิชาทหารช่างสมัยใหม่ตามแบบทหารอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า ROYALENGINEER คือ ฝึกให้สามรถสร้างสะพาน ถนน อาคาร ขุดอุโมงค์ และทำการก่อวินาศกรรมได้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาทหารช่างแก่นักเรียนนายร้อยทหารบก ในสมัยนั้นได้ทรงแต่งตำราวิชาทหารช่างขึ้นเป็นภาษาไทย เล่มที่ 1 ว่าด้วย แบบสะพานทหาร และวิธีใช้ไม้ มีภาพประกอบอย่างสมบูรณ์ เล่มที่ 2 ว่าด้วย วิธีขุดบ่อระเบิด และวิธีใช้ดินระเบิด ร่วมทั้งการระเบิดรถไฟใช้สำหรับแนะนำทหารในกรมทหารช่าง และจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อให้ใช้เฉพาะเหล่าทหารช่าง เป็นการชั่วคราว

               พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากรประสูติเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2424 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาวาด ( ในสกุล กัลยาณมิตร ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงศึกษาหนังสือไทย ที่โรงเรียนสวนกุหลาบตามแบบขัตติยราชประเพณีเช่นเดียวกับพระราชโอรสองค์อื่น ๆ
               จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระทัยว่าบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ที่มีพระชันษาอันสมควรจะส่งไปศึกษาวิทยาการในประเทศยุโรป เพื่อให้กับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ.2437 เมื่อพระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากรมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้เสด็จไปทรงศึกษาด้านโยธาธิการ ณ โรงเรียนแฮร์โรว์ (HARROW SCHOOL) และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรม ZCIVIL ENGINEERING) จนจบหลักสูตรวิศวกรโยธาในปี พ.ศ.2444 และในเดือนตุลาคมในปีเดียวกันนั้นเองได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาการช่างทหารบกต่อที่โรงเรียนวิศวกรรมทหาร ณ เมืองแชทแฮม (THE SCHOOL OF MILITARY AT CHATHAM) ซึ่งตามหลักสูตรวิชาการช่างทหารบกจะต้องศึกษาการสร้าง และการวางรางรถไฟ สะพาน ถนน การขุดคลอง และการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขตลอดจนการก่อสร้างตึกอาคารสถานที่ต่างๆ เป็นต้น ระหว่างที่ทรงศึกษาได้รับคำชมเชยว่าทรงมีความกระตือรือร้น และยังขยันขันแข็งเอาใจใส่ต่อการเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทรงมีโอกาสฝึกงานภาคสนามตลอดจนทรงเข้าร่วมซ้อมรบในนามกองพันทหารช่างอังกฤษหลายครั้ง ได้ทรงเรียนรู้การนำวิทยุสื่อสารโทรเลข และโทรศัพท์มาใช้ในราชการสงคราม ตลอดจนการนำทหารช่างมาช่วยสร้างสะพานและการวางรางรถไฟ ทั้งในเวลาปกติ และในยามสงคราม นับว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งต่อพระองค์ ทำให้ทรงทราบถึงความยากลำบากในการทำงานตลอดจนวิธีการแก้ปัญหา และอุปสรรคเหล่านั้น ทรงเกิดความคิดที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทหารช่างในแบบสมัยใหม่ที่ให้บริการทางด้านการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วควบคู่ไปกับงานโยธาด้วย อาจกล่าวได้ว่าทรงบรรลุผลสำเร็จในการศึกษาทางด้านทหารช่างที่เมืองแชทแฮม สมดังราชประสงค์ของพระราชประสงค์ของพระราชบิดา โดยทรงใช้เวลาศึกษา 2 ปี จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2448             
              

พระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากร
นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.) นนส.ทหารช่าง (Engineer NCO.)
||  หน้าแรก   ||   ประวัติ นนส.ทหารช่าง / ทำเนียบรุ่น    ||   รร.นส.ทบ. / รร.ช.กช.  ||   ตำนานดอกจัน  ||  ย้อนรอยภาพกิจกรรม   ||