ประวัติหน่วย

 

 

ทรงฝึกฝนทหารช่างของไทยเป็นไปตามแบบอังกฤษ

ทรงฝึกฝนทหารช่างของไทยเป็นไปตามแบบอังกฤษ

 

ทรงฝึกฝนทหารช่างของไทยเป็นไปตามแบบอังกฤษ

 

ทรงฝึกฝนทหารช่างของไทยเป็นไปตามแบบอังกฤษ

 

ทรงฝึกฝนทหารช่างของไทยเป็นไปตามแบบอังกฤษ

 

ความเป็นมาของทหารช่างในอดีต

 

ทำการวางรางรถไฟ จากสถานีขุนตาลถึงเชียงใหม่

 

ทำการวางรางรถไฟ จากสถานีขุนตาลถึงเชียงใหม่

 

ทำการวางรางรถไฟ จากสถานีขุนตาลถึงเชียงใหม่

 

การขุดเจาะถ้ำขุนตาล ยาว 1,362.05 เมตร

 

การขุดเจาะถ้ำขุนตาล ยาว 1,361.30 เมตร

 

การก่อสร้างทางรถไฟสถานีฉะเชิงเทรา

 

ฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง

 

กรมการทหารช่างในอดีต

 

กรมการทหารช่างในปัจจุบัน

 

กรมการทหารช่าง

 

กรมการทหารช่าง

 

               เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ ๕ ทรงใช้พระปรีชาญาณอันสุขุมด้วยการปฏิรูปการปกครองประเทศไทยที่ยังไม่เหมาะสมทุกด้านโดยเฉพาะในด้านการทหาร ทรงมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์ และเพื่อความเจริญทางด้านการทหารให้เหมาะกับกาลสมัย และสามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติได้ ซึ่งผลการปฏิรูปทางการทหาร นอกจากจะช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงแล้วยังสามารถสร้างกำลังกองทัพของชาติที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพเพียงพอแก่การรักษาความสงบภายใน การป้องกันภัยจากการคุกคามของต่างประเทศ ตลอดจนสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ และ หน่วยทหารช่างก็เป็นหน่วยหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม
               ความเป็นมาของทหารช่างในสมัยโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการแบ่งกองทหารสุโขทัย แต่จากที่พบในมังรายศาสตร์ มีการจัดแบ่งตามความสำคัญของเหล่าทหารออกเป็น เหล่าพลช้าง เหล่าพลม้า และเหล่าราบ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงได้ปรากฏหลักฐานว่า กองทัพไทย ได้จัดแบ่งทหารออกเป็น ๔ เหล่า เรียกว่า “ จตุรงค์เสมา ” ได้แก่ทหารราบ หรือ พลเท้า (พลานึก) ซึ่งรวมทหารปืนใหญ่เข้าไว้ด้วย ทหารม้า หรือ พลม้า (หัยนึก) ทหารช้าง หรือ พลช้าง (คชานึก) และทหารช่าง ซึ่งตามคติพราหมณ์ไม่ได้จัดทหารช่าง แต่จัดทหารเหล่ารถรบ (รถานึก) จะเห็นได้ว่าไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดเกี่ยวกับเหล่าทหารช่างในสมัยโบราณจนกระทั่งถึงยุครัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นเสวยราช ได้ทรงจัดตั้งกรมทหารต่าง ๆ ซึ่งดัดแปลงจากการจัดทหารของชาว ยุโรปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะปรับปรุงการทหาร ของชาติให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ดังนั้นเมื่อพระองค์เสด็จกลับจากการประพาสประเทศสิงค์โปร์และอินเดีย  ในปีพ.ศ.๒๔๑๕ แล้ว ได้ทรงนำแบบอย่างการจัดทหารที่ชาวยุโรปใช้ปฏิบัติอยู่มาดัดแปลงแก้ไข ใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยความรู้ที่เกี่ยวกับวิชา ช่างนั้น เท่าที่มีหลักฐานเริ่มต้นจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงมอบหมายให้ชาวอังกฤษ ชื่อ มร.เฮนรี่ อาลบาสเตอร์ ซึ่งรับราชการในสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เป็นผู้สอนวิชาต่าง ๆ เช่น แผนที่ , ไฟฟ้าและโทรเลข เป็นต้น ให้แก่นายทหารมหาดเล็ก
               ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ชาวอังกฤษ ชื่อ มร.เฮนรี่ รีด ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดตั้งบริษัทเพื่อสัมปทานการก่อสร้างและบำรุงรักษาเส้นทางสายโทรเลขตามหัวเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากที่ไม่สามารถดำเนินการได้มาแล้วครั้งหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ไม่ทรงโปรดให้ มร.เฮนรี่ เป็นผู้ดำเนินการ แต่ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ จัดตั้งกองทหารอินยิเนีย ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๘ เพื่อให้ทำหน้าที่ในการกรุยแนวปักเสาและวางสายโทรเลขจากกรุงเทพ ฯ ไปยังจังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร ทำให้ประเทศไทยมีเครื่องสื่อสารที่ทันสมัยใช้เป็นครั้งแรก โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กรมพระกลาโหมเป็นผู้ดำเนินการ และมีหม่อมเทวาธิราช เป็นผู้อำนวยการสร้างสายโทรเลข กองทหารอินยิเนียนี้จึงเป็นหน่วยกำเนิด ของเหล่าทหารช่าง และเหล่าทหารสื่อสารในปัจจุบัน ( ซึ่งหน่วยทหารช่างสัญญาณได้แยกตังออกไปตั้งเป็นเหล่าทหารสื่อสาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖)
               หลังจากนั้นเป็นต้นมา “ กองทหารอินยิเนีย ”  ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ตามลำดับ ดังนี้  ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แปรสภาพ “กองทหารอินยิเนีย” เป็น “กรมทหารช่าง” เพื่อให้นายพันตรี พระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากร ทรงดำเนินการฝึกอบรม วิชาทหารช่างสมัยใหม่ ตามแบบทหารอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า Royal Engineer คือ ฝึกให้สามารถสร้างสะพาน สร้างถนน สร้างอาคาร ขุดอุโมงค์ ก่อวินาศกรรม จัดเป็นหน่วยสนับสนุนการรบปี พ.ศ. ๒๔๔๙ กรมทหารช่าง ได้รับการสถาปนาเป็น กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ ย้ายหน่วยจากที่ตั้งเดิมในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าที่ตั้งใหม่ที่สะพานแดงบางซื่อ พระนคร จัดกำลังเป็นกองร้อยช่างสะพาน และกองร้อยช่างสัญญาณปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง จเรทหารช่างขึ้น ตามคำสั่งกรมยุทธนาธิการ ที่ ๑/๔ ลง ๑ เม.ย.๒๔๕๑ โดยมี พันเอกพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นจเรทหารช่าง พระองค์แรก ขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ และได้กำหนดหน้าที่ไว้ในข้อบังคับหน้าที่จเรทหารบก ร.ศ. ๑๒๗ ลง ๑ เม.ย. ๒๔๕๑ ดังนี้๑. จเรทหารช่างมีหน้าที่ เป็นหัวหน้าในกรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาการกรมยุทธนาธการ มีหน้าที่ตรวจการณ์ของทหารช่างทั่วไป ให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมที่ตั้งขึ้น ทั้งการรักษาการณ์ และรักษาอาวุธสิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่ และที่ทหารช่างสร้างขึ้น หรืองานใด ๆ ที่ทหารช่างมีหน้าที่ ทำ ตรวจ แนะนำวิชาและการฝึกหัดของทหารช่างกับทั้งความพร้อมเพรียง สำหรับราชการสนาม เมื่อทหารช่างหลายกองประชุมกัน ซ้อมวิชาในเหล่าทหารช่าง จเรทหารช่างมีหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการในเวลาที่ซ้อมนั้นจัดและอำนวยการ โรงเรียนฝึกหัดการทหารช่าง สำหรับนายทหารที่ศึกษาทางการทหารช่าง มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจการ ช่างกลต่าง ๆ ของกองทัพบกทั่วไปและในปีเดียวกันนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีกองทหารช่างประจำอยู่ตามกองพลทหารบกต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร คือ
                           - กรมทหารช่างรักษาพระองค์                             - กองทหารช่างที่ ๔             - กองทหารช่างที่ ๕
                           - กองทหารช่างที่ ๖                                           - กองทหารช่างที่ ๗             - กองทหารช่างที่ ๙
               ต่อมากองทหารช่างต่าง ๆ เหล่านี้ได้ยุบรวมและจัดตั้งเป็นกรมทหารช่าง คือ กรมทหารช่างที่ ๑ และกรมทหารช่างที่ ๒ ( ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นทหารช่างกองพันที่ ๒ ) ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามข้อบังคับกำหนดหน้าที่จเรทหารบก ร.ศ. ๑๓๐ ให้ตั้งแผนกจเรทหารช่าง ขึ้นการบังคับบัญชาต่อเสนาบดีกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ในการปกครอง ตรวจการฝึกอาวุธกับ เครื่องมือช่าง ตรวจการช่างของกองทัพบก อำนวยการฝึกซ้อมวิชาทหารช่าง จัดทำและอำนวยการโรงเรียนฝึกหัดการช่าง ( ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างและให้ขึ้นกับกรมจเรทหารช่างทหารบก ) ตลอดจนเรียบเรียงตำราแบบฝึกทหารช่าง ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของกรมการทหารช่างในปัจจุบันนั่นเองปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้ขยายแผนกจเรทหารช่าง ขึ้นเป็นกรมจเรทหารช่าง ขึ้นการบังคับบัญชาต่อเสนาบดี กระทรวงกลาโหมปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ตามกฎข้อบังคับกระทรวง
กลาโหม พ.ศ. ๒๔๕๗ ให้เปลี่ยนชื่อ กรมจเรทหารช่าง เป็น กรมจเรช่างทหารบก ขึ้นตรงต่อกรมจเรช่างทหารบก แบ่งออกเป็น ๔ แผนก คือแผนกที่ ๑ การศึกษา , แผนกที่ ๒ การสื่อสาร , แผนกที่ ๓ การประปาและไฟฟ้า , แผนกที่ ๔ การช่างกลและรถไฟ
               ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนฝึกหัดทหารช่าง ซึ่งจัดตั้งเพื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นโรงเรียนการช่าง และให้ขึ้นกับ กรมจเรการช่างทหารบก ซึ่งในขณะนั้นแบ่งส่วนราชการออกเป็นแผนกที่ ๑ การทหารสื่อสารแผนกที่ ๒ ช่างประปาและช่างรถไฟ และแผนกโรงเรียนนายทหารช่างปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ไทยประกาศสงครามกับเยอรมัน เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้มีประกาศกระทรวงกลาโหม ยกเลิกกองทหารช่างทั้งหมด คงจัด ให้มีเพียง ๓ กรมทหารบกช่าง เท่านั้น
คือ กรมทหารบกช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ , กรมทหารบกช่างที่ ๒ และกรมทหารบกช่างที่ ๓ นอกจากนี้ได้มีการกำหนด
หน้าที่กรมจเรต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม ตามข้อบังคับสำหรับทหารบก พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยให้มี กรมจเร การช่างทหารบก มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารช่างและเครื่องมือช่าง มีจเรการช่างทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา สิทธิ์ขาด ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงกลาโหม   
               ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ กรมจเรการช่างทหารบก ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมจเรทหารช่าง ขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม แบ่งส่วนราชการออกเป็น แผนกที่ ๑ ถึง แผนกที่ ๔
               ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หน่วยทหารช่างเปลี่ยนแปลงเป็น
                              - กรมจเรการช่างทหารบก
                              - กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ มี ๒ กองพัน คือกองพันทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์กองพันทหารช่างที่ ๒ ช่างเครื่องสัญญาณ
                              - กรมทหารช่างที่ ๒ ช่างสะพาน
                              - กรมทหารช่างที่ ๓ ช่างรถไฟ
               ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ กรมจเรทหารช่างมาขึ้นกับกรมจเรทหารบก ในสมัยนี้กิจการทหารช่าง ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต่อมาได้โอนกรมจเรทหารช่าง มาอยู่ในบังคับบัญชาของ กรมเสนาธิการทหารบก และได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัด ดังนี้ แผนกที่ ๑ กองการศึกษา กองทดลองและออกแบบ , แผนกที่ ๒ กองสื่อสารทั่วไป กองไฟฟ้าและเคมีแผนกโรงเรียนทหารช่าง
               ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๓ กรมจเรทหารช่าง เปลี่ยนไปขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารบก และได้มีการยุบเลิกกองต่าง ๆ ในแผนกที่ ๑ และแผนกที่ ๒ คงจัดให้มีเพียง แผนกที่ ๑ แผนกที่ ๒ และแผนก โรงเรียนทหารช่างนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดหน่วยทหารช่างใหม่ โดยยุบกรมจเรทหารช่าง เป็นกองบังคับการทหารช่างและสื่อสาร ขึ้นตรงต่อกองทัพบก มีหน่วยในบังคับบัญชาคือ
                              - กองพันทหารช่างที่ ๑                     - กองพันทหารช่างที่ ๒
                              - กองพันทหารสื่อสารที่ ๑                - กองพันทหารสื่อสารที่ ๒
               ต่อมาในช่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๓ กองบังคับการทหารช่างและสื่อสาร ได้แปรสภาพเป็น แผนกที่ ๔ ของกรมจเรทหารบก ซึ่งจัดแบ่งหน่วยเป็น
                              แผนกที่ ๑ ทหารราบ                แผนกที่ ๒ ทหารม้า                แผนกที่ ๓ ทหารปืนใหญ่
                              แผนกที่ ๔ ทหารช่าง                แผนกที่ ๕ ทหารสื่อสาร
               และในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔ แผนกที่๔ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แผนกทหารช่าง ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารบก ตามคำสั่งทหารที่ ๒๓๑/๒๒๒๖๕ ลง ๕ มิ.ย.๘๔ โดยมีการจัดหน่วยใหม่ดังนี้คือ กองบังคับการ , กองการศึกษา , กองฝึก,กองวิทยาการ , หมวดสัมภาระ , หมวดเสนารักษ์ , โรงเรียนทหารช่าง , กองโรงเรียนทหารช่าง, กองโรงเรียนนายสิบทหารช่าง และในช่วงนี้เองแผนกทหารช่าง ได้ย้ายจากจังหวัดพระนครไปตั้งที่อยู่ จังหวัดราชบุรี
               ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แผนกทหารช่างแปรสภาพเป็นกรมจเรทหารช่าง ขึ้นตรงต่อกรมจเรทหารบก ตั้งอยู่จังหวัดราชบุรี ตามค่ำสั่ง ทบ.พิเศษ ลับ - ด่วน ที่ ๒๔๐ ลง ๔ ธ.ค. ๘๘ เรื่องของการเตรียมจัดกำลังตามอัตรากองทัพบก ๘๙ การยุบหน่วยตามอัตรากองทัพบก ๘๖ มีการจัดหน่วยดังนี้ จังหวัดราชบุรี ตามคำสั่ง ทบ.พิเศษ ลับ-ด่วน ที่ ๒๔๐ ลง ๔ ธ.ค.๘๘ เรื่องของการเตรียมการจัดกำลังตามอัตรากองทัพบก ๘๙ การยุบหน่วยตามอัตรากองทัพบก ๘๖ มีการจัดหน่วยดังนี้กองบังคับการกรม , แผนกเทคนิค , แผนกศึกษา และแผนกคลัง จนถึงเดือน มีนาคม ๒๔๙๓ ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมพิเศษที่ ๑๓/๔๖๖๙ ลง ๒๐ มี.ค. ๙๓ ให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดหน่วย โดยจัดส่วนราชการออกเป็น กองบังคับการกรม , แผนกที่ ๑ , แผนกที่ ๒ แผนกที่ ๓ และแผนกที่ ๔   ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมจเรทหารช่างได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมการทหารช่าง ขึ้นตรงต่อกองทัพบก ตาม คำสั่งกระทรวงกลาโหม ( พิเศษ ) ที่ ๕๙/๒๓๖๔๐ เรื่องแก้อัตรากองทัพบก ๙๑ ( ครั้งที่ ๕๓ ) ลง ๑๙ พ.ย. ๙๕ มีการจัดส่วนราชการดังนี้ – กองบังคับการกรม - กองกลาง – กองวิทยาการ - กองฝึกและศึกษา - กองเครื่องอุปกรณ์การช่าง – ศูนย์การฝึกทหารช่าง – กองยุทธโยธา - กองเสนารักษ์ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้ปรับปรุงอัตราการจัดกรมการทหารช่างใหม่ โดยแบ่งกิจการของการทหารช่างออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ คือ กองบังคับการ กรมการทหารช่าง กับโรงเรียนทหารช่าง แบ่งส่วนราชการออกเป็น
                              - กองบังคับการกรม                - กองเครื่องช่วยฝึก                - กองบริการ                - กองเครื่องอุปกรณ์การช่าง
                              - กองเสนารักษ์                      - กองร้อยรักษาการณ์             - โรงเรียนทหารช่างปี พ.ศ. ๒๔๙๘
                              - กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ (ได้รับสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙) ได้มาขึ้นต่อกรมการทหารช่าง ราชบุรี มีหน่วยขึ้นตรง ๓ กองพัน คือ กองพันทหารช่างที่ ๔ ( ภายหลังแปรสภาพเป็น กองพันทหารช่างที่ ๖ ) ,กองพันทหารช่างที่ ๕ , และกองพันทหารช่างที่ ๒ , กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์
               ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดกรมการทหารช่างใหม่ โดยได้รับอนุมัติตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๑/๓๕ เรื่องแก้อัตราของหน่วยต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในข้อบังคับทหารว่าด้วยการกำหนดกำลังเจ้าหน้าที่กองทัพบกในเวลาปกติ พ.ศ. ๒๔๙๑ ลง ๓ ม.ค. ๒๕๐๑ กรมการทหารช่าง ได้จัดส่วนราชการใหม่ ดังนี้.-
                              ๑. กองบังคับการกรมการทหารช่าง
                              ๒. ศูนย์การทหารช่าง
                              ๓. กองคลังทหารช่าง
                              ๔. กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์
               ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่ตั้งของกรมการทหารช่างและ จทบ.ร.บ. ได้รับพระราชทานชื่อค่ายว่า “ ค่ายภาณุรังษี ”
               ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดของกรมการทหารช่าง ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๗๕/๑๑ ลง ๒๙ ก.ค. ๑๑ ซึ่งเป็นการจัดส่วนราชการตาม อัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๓๒๐๐ และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้   ที่ตั้งหน่วยสถานที่ตั้ง ค่ายภาณุรังษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
              ภารกิจ หน้าที่ กรมการทหารช่าง
               ๑. ภารกิจ กรมการทหารช่าง มีหน้าที่
                              ๑.๑ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ การผลิต จัดหา ซ่อมบำรุง และการบริการสิ่งอุปกรณ์สายทหารช่าง
                              ๑.๒ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับ และดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างรวมทั้งซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง ตามที่ได้รับมอบหมาย
                              ๑.๓ กำหนดหลักนิยม และทำตำรา ตลอดทั้งการฝึก และศึกษาของเหล่าทหารช่าง มีเจ้ากรมการทหารช่างเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
               ๒. การแบ่งมอบ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกองทัพบก ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ
                              ๒.๑ เสนอแนะ และให้คำแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับกิจการทหารช่าง
                              ๒.๒ เสนอนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการ ส่งกำลัง และซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สานทหารช่าง ให้กับหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก
                              ๒.๓ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม จัดทำตำรา และคู่มือเกี่ยวกับวิทยาการและสิ่งอุปกรณ์ สายทหารช่าง
                              ๒.๔ วางแผน อำนวยการ จัดทำหลักสูตร แนวสอน และดำเนินการฝึกศึกษากำลังพลเหล่าทหารช่าง และเหล่าทหารอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
                              ๒.๕ ดำเนินการผลิต และควบคุมกำลังพลเหล่าทหารช่าง
                              ๒.๖ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างรวมทั้งซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง ตามที่ได้รับมอบหมาย
               ๓. การแบ่งส่วนราชการ และหน้าที่ กรมการทหารช่าง แบ่งส่วนราชการออกเป็น
                              ๓.๑ แผนกธุรการ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการธุรการ การสารบรรณและการธุรการกำลังพลของกรมการทหารช่าง
                              ๓.๒ กองกำลังพล มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ และสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับ กิจการกำลังพลเหล่าทหารช่าง
                              ๓.๓ กองยุทธการและการข่าว มีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย วางแผนอำนวยการประสานงาน และกำกับการเกี่ยวกับการปฏิบัติทางยุทธการ การจัดหน่วย การฝึกและศึกษาของเหล่าทหารช่างรวมทั้งการข่าว การรักษาความปลอดภัย และกิจการพลเรือนของกรมการทหารช่าง
                              ๓.๔ กองส่งกำลังบำรุง มีหน้าที่
                                      ๓.๔.๑ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการเกี่ยวกับการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายช่าง ให้กับหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบก
                                      ๓.๔.๒ อำนวยการ กำกับการเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงของกรมการทหารช่าง
                              ๓.๕ กองโครงการและงบประมาณ มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณและการตรวจสอบวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนแผนการปฏิบัติงานของหน่วย
                              ๓.๖ แผนกจัดหา มีหน้าที่ ดำเนินการจัดหาสิ่งอุปกรณ์สายช่าง ตามแผนจัดหาที่ได้รับอนุมัติ
                              ๓.๗ กองบริการ มีหน้าที่ ดำเนินการสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ของกรมการทหารช่างเกี่ยวกับการ สวัสดิการ การขนส่ง การพลาธิการ การสรรพาวุธ และการบริการอื่น ๆ รวมทั้งจัดการรักษาการตามที่ได้รับมอบหมาย          
                             ๓.๘ กองเครื่องช่วยฝึก มีหน้าที่
                                      ๓.๘.๑ ดำเนินการสร้าง และซ่อมเครื่องช่วยฝึก ให้เหมาะสมกับการฝึก และศึกษา เพื่อสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ของเหล่าทหารช่าง
                                      ๓.๘.๒ วิจัย พัฒนา และปรับปรุงเครื่องช่วยฝึกให้ทันสมัย
                                      ๓.๘.๓ ให้คำแนะนำในการใช้เครื่องช่วยฝึก รวมทั้งการเก็บรักษาและแจกจ่าย
                              ๓.๙ กองวิทยาการ มีหน้าที่
                                      ๓.๙.๑ ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และดำเนินการเกี่ยวกับวิทยาการของเหล่าทหารช่าง
                                      ๓.๙.๒ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยมและจัดทำสถิติ ตลอดจนเผยแพร่วิทยาการทหารช่าง
                                      ๓.๙.๓ ดำเนินการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ทหารช่าง และจัดห้องสมุดของกรมการทหารช่าง
                              ๓.๑๐ กองคลังทหารช่าง มีหน้าที่ ดำเนินการ และกำกับการบริหารงานคลัง การส่งกำลังการซ่อมบำรุง และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์สายช่าง เพื่อสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบกและหน่วยอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

                             ๓.๑๑ กองการก่อสร้าง มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการ เกี่ยวกับการก่อสร้าง รวมทั้งซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างตามที่ได้รับมอบหมาย
                              ๓.๑๒ โรงเรียนทหารช่าง มีหน้าที่ อำนวยการ ดำเนินการฝึกศึกษาให้กับกำลังพลเหล่าทหารช่างและอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบ รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการฝึกศึกษา ตามหลักสูตรของโรงเรียนทหารช่าง
                              ๓.๑๓ หน่วยทหารช่างที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
                                      ๓.๑๓.๑ กองพลทหารช่าง มีหน้าที่ รับผิดชอบในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่เกินขีด ความสามารถ ของ กองพลพัฒนาของกองทัพภาค และเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพบก ด้านการพัฒนาประเทศ ให้มีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น
                                      ๓.๑๓.๒ กองพันทหารช่าง กรมการทหารช่าง มีหน้าที่ เป็นหน่วยลูกมือของกรมการทหารช่าง ในการสนับสนุนการฝึกศึกษา และเป็นหน่วยปฏิบัติในการวิจัยพัฒนาปรับปรุงหลักนิยมของเหล่าทหารช่าง กับเป็นหน่วยปฏิบัติทางยุทธวิธีได้เมื่อจำเป็น