" ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง " เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็น
ปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้
ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมี
พื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
มุ่งเน้นการ
รอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืน
ของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมี
ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย
5 ส่วน ดังนี้
ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต
เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนา
อย่างเป็นขั้นตอน
ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภค
ที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยว
ข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความ
เป็น
ไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา
ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้
สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อ
การเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชน ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึง ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และ บริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง คือ ความพอ
ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และ
ภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อ
สัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
หลักแนวคิดของเศษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจ
และการกระทำ
3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอด จนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ
กระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ี่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความ เป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อม
โยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอด
ทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้โดยยึดหลักสายกลาง ไม่ประหยัดจนตระหนี่ถี่เหนียว หรือฟุ้งเฟ้อจนเกินความจำเป็นกล่าว
คือ
ประหยัดในทางที่ถูกต้อง และลดละความฟุ่มเฟือย รวมทั้งต้องประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตามก็ต้อง
ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ แต่ทั้งนี้
ต้องไม่เป็นการแก่งแย่งผลประโยชน์ และแข่งขันกันในทางการค้าขายหรือประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมด
สิ้นไป ทั้งนี้เนื่องจากสังคมไทยที่ล่มสลายลงเพราะยังมีบุคคลจำนวน ไม่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากความละอาย
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นแนวปฏิบัติตนไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรม หรือ
อาชีพใด ก็ต้องยึดถือวิถีไทยอยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลางอยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต เจริญเติบโตอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนัน ซึ่งตั้งอยู่บนความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็วแล้วก็ไปสู่ความล้มละลาย
ในที่สุด
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานเพื่อชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิต
และปฏิบัติตนให้กับประชาชน
ชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ โดยทรงห่วงใยต่อสถานการณ์ และปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งส่งผล
กระทบต่อการดำรงอยู่ของประชาชนชาวไทยและสังคมไทยโดยรวม จึงทรงเตือนทุกฝ่ายให้รู้จักคำว่า "พอเพียง อย่าทำอะไรเกินตัว ทำอะไรด้วยสติ มีความรอบ
คอบระมัดระวัง ดำรงชีวิตอย่างสมถะ และสามัคคี ซึ่งจะนำพาตนเองและประเทศชาติให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤตต่าง ๆ และนำพาสังคมและประเทศชาติไปสู่ความ
มั่นคง
และความสุขได้
ทฤษฎีการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance Theory) แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทที่สำคัญ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนใน ชนบทเป็นหลัก กิจกรรม และโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ
ในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การ พึ่งตนเองได้ ของราษฎรทั้งสิ้น โดยการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารถ
ดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชน ดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคม
ชุมชนอย่าง
แท้จริงโดยทรงมีหลักอยู่ว่า
ทรงไม่ใช้วิธีการสั่งการให้เกษตรกรปฎิบัติ
ทรงเน้นให้พึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นสำคัญ
ทรงใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทรงใช้หลักประชาธิปไตยในการดำเนินการซึ่งเจ้าหน้าที่ทักท้วงสิ่งใดทางวิชาการจะทรงรับฟังข้อสรุปอย่างเป็นกลางหากสิ่งใดที่เจ้าหน้าที่กราบบังคม
ทูลว่าปฎิบัติได้ แต่ผลลัพธ์อาจไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงไป ก็ทรงให้เปลี่ยนแปลงโครงการได้เสมอ
ทรงยึดสภาพของท้องถิ่นเป็นหลักในการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งด้านสภาพแวดล้อม ทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชน ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิต
อันเป็นรากฐานนำไปสู่การ พึ่งตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นการพัฒนาในลักษณะการเตรียมชุมชนให้พร้อมต่อการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทรงเรียว่าการ
ระเบิดจากข้างใน และทรงชี้แนะว่าควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ทรงสนับสนุนให้มีการส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ ด้วยทรงตระหนักว่า ชาวชนบทควรจะมีความรู้ในเรื่องของการทำ มาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี " ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ " ที่ชาวบ้านสามารถรับและนำไปปฎิบัติได้ผลจริง
ทรงปฏิรูประบบราชการให้เกิดเอกภาพทางการบริหาร (Single Management or Unity Administration) อันเป็นลักษณะ พิเศษของศูนย์ศึกษาการพัฒนา
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเอกภาพทางการบริหาร โดยได้ทำหน้าที่บริหารทั้งสองทางในเวลา เดียวกัน คือ บริหารงานองค์กรของระบบราชการและบริการประชาชนพร้อมกันไปด้วย ดังนี้คือ
ก. ทำหน้าที่รวบรวมประชาชนที่เดือดร้อนให้รวมตัวกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และส่วนราชการก็จะเข้าร่วมแก้ไขปัญหา ตามหลักทางวิชาการ
ข. ทำหน้าที่รวบรวมความต้องการพื้นฐานอันแท้จริงของประชาชน และนำกลับมา หาวิธีการพัฒนาเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ได้
กำหนดไว้ในลักษณะแผนงานและโครงการ
ค. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐและประชาชน เป็นการลดช่องว่างแห่งความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันให้ลดน้อยลง
ง. ทำหน้าที่เป็นแหล่งเสริมสร้างการเรียนรู้ของประชาชนและราชการ คือ ประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้เพื่อ พัฒนาอาชีพและราย ได้ให้มั่นคง
ในทำนองเดียวกันเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถเรียนรู้การแก้ไขปัญหาของ แต่ละท้องถิ่น นำไปเป็นแบบฉบับการพัฒนาแก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้น ได้ทรงถามเกษตรกรและทอด
พระ
เนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าว และเกิดแรงดลพระราชหฤทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่าข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมากหากได้น้ำเพียงพอจะสามารถ
เพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้นหากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้วนำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุก
ครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่สิ้นค่าใช่จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยตรงมากกว่า ในเวลาต่อมาได้พระ
ราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง " ทฤษฎีใหม่ " เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ต.ห้วยบง อ.เมือง จ.สระบุรี
แนวทฤษฎีใหม่ กำหนดขึ้นดังนี้ ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็น สัดส่วน 30-30-30-10 คือ
ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกโดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับ
น้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตร ได้ตลอดปีและยังสามารถ เลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระ เพื่อ
เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ร้อยละ 30 ใน ส่วนที่หนึ่ง : ทำนาข้าว ประมาณ 5 ไร่
ร้อยละ 30 ใน ส่วนที่สอง : ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้นที่และภาวะตลาด
ประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่า ในพื้นที่ทำการเกษตร นี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลง
เกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการต้องใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ร้อยละ 10 ใน
ส่วนที่สาม : เป็นพื้นที่ที่เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัยถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัว และเลี้ยงสัตว์
พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ วิธีการนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่ดิน
ที่มีพื้นที่ดิน
จำนวนน้อย แปลงเล็ก ๆ ประมาณ 15 ไร่ (ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย) มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้
(Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน โดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันในท้องถิ่น กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้
เพียงพอทั้งปี
โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ของครอบครัวหนึ่งนั้น จะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้ นอกจากนี้ยังทรงคำนึงถึงการระเหย
ของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรกรด้วยว่า ในแต่ละวันที่ไม่มีฝนตกคาดว่าน้ำระเหย วันละ 1 ซม. ดังนั้น เมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ 300 วันนั้น ระดับน้ำในสระจะลดลง 3 เมตร จึงควรมีการเติมน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตร เท่านั้น ดังนั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำ
ใน
สระเล็ก จึงเปรียบ เสมือนมีแท้งค์น้ำใหญ่ ๆ ที่มีน้ำสำรองที่จะเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น กรณีของการทดลองที่วัดมงคล
ชัยพัฒนา ทรงเสนอวิธีการดังนี้ จากภาพตุ่มน้ำเล็กคือสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้น
ตามทฤษฎีใหม่นี้ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ราษฎรก็สามารถสูบน้ำมาใช้
ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้
สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้ว ก็ใช้วิธีการสูบน้ำ
จากป่าสักมาพักในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มากพอตลอดปี
ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ที่บัดนี้ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์
เกิดขึ้นด้วย พระอัจฉริภาพ สูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติ
ที่มาโดย :: เพจสื่ออาเซียน-สื่อการเรียนการสอน