กรมการทหารช่าง :: เกียรติประวัติ และผลงานทหารช่าง
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ทำการวางรางรถไฟ จากสถานีขุนตาลถึงเชียงใหม่
1.  ผลงานทหารช่างในอดีต    2.  การปฏบัติภารกิจในต่างประเทศ     3.  ผลงานการก่อสร้างที่สำคัญ 

 

                      เหล่าทหารช่าง   เป็น 1 ใน 5 เหล่าหลักที่เข้าทำการรบในทุกสมรภูมิ ( ร. , ม. , ป. , ช. , ส. ) เป็นหน่วยแรกที่ต้องเข้าไปลาดตระเวณทางการช่างในพื้นที่ และกลับออกมาภายหลัง จนกระทั่งมีคำขวัญประจำเหล่าว่า "  FIRST  IN - LAST  OUT  "   ด้วยเอกลักษณ์ของเหล่าทหารช่างดังกล่าว จึงทำให้ต้องมีส่วนร่วมในสงครามที่เกิดขึ้นในภาคพื้นเอเชียแทบทุกครั้ง

 

 

 

 

                        เมื่อปี พ.ศ.2459  การขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาล   เจาะทะลุเขาขุนตาลตรง กม. ที่ 682   ระหว่างเขตต่อจังหวัดลำพูนและ จังหวัดลำปางมีความยาว 1362.05 เมตร เป็นอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2454  โดยเจาะอุโมงค์จากทางด้านจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง ทั้ง  2  ด้านให้มาบรรจบกันพอดี และต้องขุดให้ระดับพื้นทางปากอุโมงค์ทางด้านจังหวัดลำพูนสูงกว่าทางด้านปากอุโมงค์ด้านจังหวัดลำปางประมาณ  70 เมตร  เพื่อให้มีความลาดเทน้ำไหลผ่านได้สะดวก  ไม่เป็นแอ่งน้ำขังกลางอุโมงค์ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ  8 ปี  ช่วง 7 ปีแรกอยู่ในความรับผิดชอบของวิศวกรชาวเยอรมัน และอีกช่วง 1 ปี หลังอยู่ในความรับผิดชอบของทหารช่างไทย     แม้ว่าในช่วงเวลาที่อยู่ในความรับผิดชอบของทหารช่างไทย จะสั้นเพียงประมาณ 1 ปี ก็จริงแต่ก็เป็นช่วงที่ยุ่งยากที่สุดและจะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด เนื่องจากเป็นช่วงที่อุโมงค์ทั้ง 2 ข้างต้องมาบรรจบกันได้พอดี หากเกิดความผิดพลาดแนวการเจาะไม่ตรงกันย่อมจะเกิดปัญหานานับประการติดตามมามากมาย ดังนั้นช่วงสุดท้ายนี้ จึงเป็นงานท้าทายความสามรถของทหารช่างไทยจากนั้นทหารช่างก็ได้ทำการวางรางรถไฟจากสถานีขุนตาลถึงเชียงใหม่  และได้ทำการก้อสร้างรางรถไฟสถานีฉะเชิงเทรา

                      สงครามโลกครั้งที่ 1  (พ.ศ.2475 - 2460)  หน่วยที่ร่วมรบ คือกองบินทหารบกซึ่งเดิมเป็นแผนกการบินที่อยู่ในการควบคุมดูแลของจเรทหารช่าง

 

 

 

 

                       กรณีพิพาทอินโดจีน - ฝรั่งเศส (พ.ศ.2483 - 2484)   ทหารช่างได้ปฏิบัติงานสร้าง ซ่อม และบำรุงทางคมนาคม เพื่อมุ่งหมายให้กองพลรุกไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว   (  รายละเอียดเหตุการณ์  )

 

 

 

 

                       สงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.2484 - 2488) ทหารช่างมีหน้าที่ปฏิบัติงานทางการช่าง สนับสนุนกองพลตามแผนการยุทธของกองทัพพายัพ กองทัพบกสนามได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง " กองพลสร้างทางคมนาคม " เพื่อดำเนินการสร้าง ซ่อมเส้นทางคมนาคมในเขตที่อยู่ในความยึดครองของกองทัพพายัพ โดยได้ก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางในสหรัฐไทยเดิมรวมความยาวทั้งสิ้น 524 กม. (ประมาณ 2 เท่าของความยาวจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา) ซึ่งภารกิจครั้งนี้ทุกคนต้องเหน็ดเหนื่อยตรากตรำ และต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ เช่น  โรคบิด และไข้จับสั่น (มาเลเรีย) จนทำให้สูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก (  รายละเอียดเหตุการณ์  )

 

 

 

 

                       สงครามเวียดนาม (พ.ศ.2510 - 2514)  ปี พ.ศ. 2509  ได้ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม โดยให้กองทัพทั้ง 3 กองทัพไปร่วมรบ ซึ่งได้ส่งหน่วยกำลังรบส่วนแรกทางพื้นดินไปปฏิบัติการรบ เมื่อวันที่ 28  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510  คือ กรมทหารอาสาสมัคร และส่งกำลังรบส่วนที่สอง คือ กองพลทหารอาสาสมัคร ไปปฏิบัติการรบเมื่อปี พ.ศ.2511  โดยแบ่งเป็น 3 ผลัด ได้แก่ กองพันทหารช่างสนาม ผลัดที่ 1 , กองพันทหารช่างสนาม กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2 , กองพันทหารช่างสนาม กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3     (  รายละเอียดการปฏิบัติงาน      ) , (  รายละเอียดเหตุการณ์  )

                        การรบในประเทศลาว (พ.ศ.2510 - 2514)
                                  - มีนายทหารช่าง ( พล.อ.วิเชียร สุกปลั่ง ) อดีต จก.กช. เป็น เสธ.ฉก.ผาสุก และเป็นทหารเสือพรานพิเศษคนแรก และคนเดียวของ บก.ผสม 333
                                  - ดัดแปลงที่มั่น และวางเครื่องกีดขวางลวดหนามตามแนววิชาป้อมสนาม โดยการขุดคูเรดรอบที่มั่น และถากถางพื้นที่ยิงหน้าคูเรด
                                  - ดัดแปลงบังเกอร์ หรือหลุมบุคคลปิด โดยการเสริมความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
                                  - วางทุ่นระเบิดดักรถถัง

ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ยินดีต้อนรับสู่ " บ้านทหารช่าง "
ราชบุรี :: เมืองแห่งพระราชา ::
ประวัติความเป็นมาของหน่วยทหารช่าง
พระบิดาแห่ง " ทหารช่าง "
ประวัติค่ายภาณุรังษี
อดีตผู้บังคับบัญชา : กรมการทหารช่าง :
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................
หน้าถัดไป
......................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................
ต.โคกหม้อ   อ.เมือง   จว.ราชบุรี   70000
กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 1
เผยแพร่โดย ส่วนปฏิบัติการระบบเครือข่าย  ศทท.กช.  
ติดต่อ :: webmaster@tahanchang.com  ทบ.53105  
การขุดเจาะถ้ำขุนตาล ยาว 1,362.05 เมตร
การก่อสร้างทางรถไฟสถานีฉะเชิงเทรา
1.  ผลงานทหารช่างในอดีต    2.  การปฏบัติภารกิจในต่างประเทศ     3.  ผลงานการก่อสร้างที่สำคัญ