หน่วยทหารไทย กำลังเดินข้ามสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ อ.เมือง จ.ราชบุรี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2       สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ อ.เมือง จ.ราชบุรี เมื่อครั้งก่อน          

                ความเป็นมา : จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีการสะสม วัฒนธรรมจากหลายยุคหลายสมัย มีหลักฐานทางโบราณคดี ที่บ่งบอกถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ สภาพสังคมจิตวิทยาของจังหวัด วิถีชีวิตของชาวบ้าน นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีเหตุการณ์ต่างๆมากมายที่น่าสนใจ น่าศึกษาค้นคว้า สามารถนำมาเป็นจุดสนใจให้กับนักท่องเที่ยวจาก ทั่วประเทศและจากนานาประเทศ ที่จะเข้ามาเยี่ยมชม รำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบถึงรูปแบบของเหตุการณ์ต่างๆ นำมาเป็นบทเรียนในการฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี
                สงครามคือการใช้อำนาจกำลังรบทุกรูปแบบเพื่อแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ สงครามมีหลายรูปแบบและมีวิวัฒนาการยาวนานตั้งแต่ในอดีต การศึกษาประวัติสงครามนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญแม้ว่าในปัจจุบันนั้นรูปแบบของสงครามที่ใช้กำลังรบที่มีตัวตนมีโอกาสเกิดได้ยาก แต่เป็นการศึกษารูปแบบของการดำเนินกลยุทธ์ทางทหาร รูปแบบของช่วงเหตุการณ์ต่าง ๆ แนวความคิดในการปฏิบัติของคู่สงคราม เพื่อเป็นบทเรียน ให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งถ้า ได้ศึกษาอย่างแท้จริงแล้วก็จะมีประโยชน์อย่างมาก

สงครามกับจังหวัดราชบุรีและการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด

                มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สงครามสำคัญและยังคงมีร่องรอยยืนยันความจริงของเหตุการณ์ ที่ปัจจุบันนั้นกำลังจะเลือนหายไปตามระยะเวลา ของจังหวัดราชบุรี ก็คือในสมัยปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๘) เมืองราชบุรีถูกโจมตีทางอากาศ โดยเครื่องบิน บี ๒๔ ของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่ง ได้ถูกส่งเข้ามาปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิดเวลา ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี และบริเวณสะพานดำ(สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์) ซึ่งเป็นเส้นทาง ส่งกำลังบำรุงหลักเส้นทางหนึ่งของกองทัพญี่ปุ่นโดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นกลุ่มเหตุการณ์ ซึ่งได้ดำเนินไปจนทำให้เกิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่ยังไม่ได้รับการสนใจ คงอยู่ภายในจังหวัดนั้นก็คือ หัวรถจักรไอน้ำของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันยังคงจมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลองของพวกเราชาวจังหวัดราชบุรี ที่จะสามารถนำมาเผยแพร่ให ้สาธารณชนได้มีโอกาสพบเห็น และได้สัมผัสกับความรู้สึกของบรรยากาศเหตุการณ์ในอดีตเพื่อนำเป็นจุดส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรีไปสู่ระดับนานาชาติต่อไป
                ข้อเท็จจริง : กรมการทหารช่างได้จัดคณะทำงานดำเนินการศึกษาประวัติศาสตร์ใน ขั้นต้น ของจังหวัดราชบุรีในห้วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกี่ยวกับเส้นทางรถไฟซึ่งเป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงหลักของกองทัพญี่ปุ่นในการขนส่งเชลยศึก และกำลังจัด ดังนี้.- แผนกที่ ๑ กองการศึกษา กองทดลองและออกแบบ , แผนกที่ ๒ กองสื่อสารทั่วไป กองไฟฟ้า และเคมีแผนกโรงเรียนทหารจากประเทศสิงคโปร์ มลายู ผ่านไทย พม่า เพื่อเข้าสู่ประเทศอินเดีย มีเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญซึ่งมีความเป็นมาดังนี้.-
                กองทัพญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้าสู่ประเทศไทยโดยใช้การยกพลขึ้นบกทางตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการประจวบคีรีขันธ์ , ชุมพร ,สุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช , สงขลา และ ปัตตานี ตั้งแต่คืนวันที่ ๗-๘ แล กองพลที่ ๑๕ ของกองกองทัพญี่ปุ่น ก็เข้าควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย และ หาโอกาสบุกเข้าไปในเมืองมะละแหม่งของพม่า และมีแผนการยึดพม่าทางตอนใต้
                 กำลังของประเทศไทย ได้ทำการต่อต้านแต่ไม่สามารถต้านทานได้ รัฐบาลไทยได้ทำสัญญาหยุดรบกับประเทศญี่ปุ่นและญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย ขอสร้างทางรถไฟผ่านไปประเทศพม่า เพื่อเป็นเส้นทางรุกต่อเข้าไปยังประเทศอินเดียซึ่งในขณะนั้นประเทศอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ

          

                รัฐบาลไทยยอมรับข้อเสนอเพื่อรักษาประเทศชาติไว้ให้ปลอดภัยที่สุด ฝ่ายญี่ปุ่นวางแผนเชื่อมต่อทางรถไฟสายใต้ของประเทศไทย กับทางรถไฟในมลายู และสิงคโปร์ เชื่อมต่อเข้าสู่ประเทศพม่าทางตอนใต้ ซึ่งพลตรี เซจิ โมริยา ผู้แทนกองทัพบกญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยได้เข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทย ในคืนวันที่ ๑๖ กันยายนี่ ๒๔๘๕ เพื่อลงนามในข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่น เกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด คือจาก บ้านโป่ง-กาญจนบุรี-ด่านพระเจดีย์สามองค์-ธันบีอูซายัต
                ทางรถไฟสายนี้เริ่มจุดแรกจะแยกจากทางรถไฟสายใต้ของไทย ที่บ้านหนองปลา ดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กิโลเมตรที่ ๖๔ x ๑๙๖ สถานีรถไฟหนองปลาดุกตั้งอยู่ที่ ห มู่ ๗ ตำบล หนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นจุดแรกของการเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า กองทหารญี่ปุ่นได้สร้างค่ายที่พักและได้นำเชลยศึกมาจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทยไปยัง จว.กาญจนบุรี เพื่อเป็นกำลังในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ และญี่ปุ่นได้เริ่มวางรางรถไฟที่หนองปลาดุกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๕ โดยสร้างเป็นทางรถไฟสายเดี่ยว ความกว้างของราง ๑ เมตร เลียบตามแม่น้ำแม่กลอง ตรงไปยัง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วตัดขึ้นเหนือข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่บ้านท่ามะขามแล้วเลียบตามลำน้ำแควน้อย ผ่านภูเขา และป่ารก ไปสุดเขตแดนของไทยที่ด่านเจดีย์สามองค์จนถึงสถานีธันบี - อูซายัต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองมะละแหม่ง กับเมืองตองยีในประเทศพม่า รวมระยะทาง ๔๑๕ กิโลเมตร อยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ ๓๐๔ กิโลเมตร อยู่ในเขตประเทศพม่าประมาณ ๑๐๑ กิโลเมตร ตามแผนงานประมาณการว่าการว่าแล้วเสร็จ ภายใน ๑๔ เดือน (เริ่มสร้าง ๒๓ ตุลาคม ๒๔๘๕)
                เนื่องจากเส้นทางสายนี้ เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพญี่ปุ่นจะให้เป็นเส้นหลักส่งกำลังจากสิงคโปร์ , มลายูและทางตอนใต้ของไทยผ่านประเทศพม่า มู่งสู่ประเทศอินเดีย ดังนั้นการก่อสร้างจึงถูกต่อต้านจากกำลังกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร อันประกอบด้วยประเทศอังกฤษ , ฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา อย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางอากาศซึ่งกำลังทางอากาศของสหรัฐอเมริกาได้มาตั้งฐานใหม่อยู่ที่เมืองจูงกิง ประเทศจีน มีเครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งแบบบี ๒๔ และบี ๒๙ และเริ่มเปิดฉากโจมตีขัดขวางการก่อสร้างรถไฟสายไทย – พม่า (ซึ่งขณะนั้นยังสร้างไม่แล้วเสร็จ) ตั้งแต่วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๘๗ และโจมตีเป็นระยะๆ ตลอดเวลา ซึ่งทางรถไฟสายนี้ถูกโจมตีรวมทั้งสิ้น ๑๖ ครั้ง โดยมีรายละเอียดของวันเวลาและสถานที่ ( เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับราชบุรี ) ดังนี้
                                - วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๘๗ เวลา ๐๙.๒๐ เครื่องบิน ๒ ลำ โจมตีสถานีรถไฟหนองปลาดุก อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
                                - วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๘๗ เวลา ๐๐.๒๐ เครื่องบิน ๑๒ ลำ ทิ้งระเบิดสถานีหนองปลาดุกและทางรถไฟ ทำให้ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตหลายร้อยคน
                                - วันที่ ๑๕ ตุลาตม ๒๔๘๗ เวลา ๐๐.๒๐ น. เครื่องบิน ๑๒ ลำ โจมตีสถานีหนองปลาดุก
                                - วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๔๘๗ เครื่องบินมาทิ้งระเบิดสถานีหนองปลา ดุก
                จะเห็นได้ว่าในจำนวน ๑๖ ครั้ง ที่ทางรถไฟสายไทย - พม่าซึ่งสร้างผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกโจมตีนั้น มีถึง ๕ ครั้ง ที่เป็นการโจมตีสถานีหนองปลาดุก ซึ่งเป็นจุดที่เรียกว่า ชุมทางของเส้นทางเดินรถไฟสายใต้ เพราะถ้าหากโจมตีชุมทางหนองปลาดุกได้สำเร็จสามารถตัดเส้นหลักส่งกำลังของญี่ปุ่นได้โดยเด็ดขาดจะส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของสงครามครั้งนี้ได้ทันท                 ความพยายามในการโจมตีทางรถไฟสายนี้ ไม่เพียงแต่เจาะจงเฉพาะสถานีชุมทางหนองปลาดุกเท่านั้น หากแต่สะพานจุฬาลงกรณ์ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดราชบุรีเองก็ตกเป็นเป้าโจมตีเช่นกัน เนื่องจากรถไฟที่มาจากทางใต้ของประเทศไทยทุกสายจะต้องผ่านสะพานนี้ก่อนจะถึงชุมทางหนองปลาดุก และสะพานนี้ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันเป็นเป้าหมาย ของการโจมตีจากฝ่ายพันธมิตรตลอดเวลา ซึ่งเรือโทอากาศ มานะเลิศ ได้นำบันทึก ของ นาย อ่อน มานะเลิศ บิดาของท่านซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์สงคราม และได้ลงในหนังสือพิมพ์ก้าวหน้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของราชบุรี ในขณะนั้น มีรายละเอียดเขียนไว้ว่า วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๘ เครื่องบิน บี ๒๔ ของฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งลูกระเบิดเวลาในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี โดยลูกแรกระเบิดในเวลา ๐๐.๐๐ หลวงนิคมคณารักษ์ข้าหลวงประจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งขณะนั้นออกมาตรวจราชการเพื่อดูความเสียหาย บริเวณสะพานดำ ได้ถูกระเบิดเสียชีวิตในทันที ต่อจากนั้นลูกระเบิดเวลาที่เครื่องบินมาทิ้งไว้ ก็ทยอยระเบิดอยู่ประมาณครึ่งวันในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๘๘ จากนั้นเครื่องบินได้มาทิ้งระเบิดที่เขตเทศบาลเมืองราชบุรีอีกหลายครั้ง สรุปดังนี้.-
                                - ครั้งที่ ๑ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๘ เวลา ๐๐.๐๐ น.                   - ครั้งที่ ๒ ๒๑ มกราคม ๒๔๘๘ เวลา ๒๓.๐๐ น.
                                - ครั้งที่ ๓ ๓๐ มกราคม ๒๔๘๘ เวลา ๒๓.๐๐ น.                 - ครั้งที่ ๔ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ เวลา ๒๓.๐๐ น.
                                - ครั้งที่ ๕ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๘ เวลา ๑๗.๐๐ น.              - ครั้งที่ ๖ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๘ เวลา ๑๕.๐๐ น.
                                - ครั้งที่ ๗ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๘ เวลา ๑๔.๓๐ น.
                ในการทิ้งครั้งสุดท้ายนี้ ทางสัมพันธมิตรได้ใช้โซ่ผูกลูกระเบิดเป็นพวง แล้วทิ้งลงมาคล้องสะพานรถไฟ โดยตั้งเวลาให้ระเบิดพร้อม ๆ กัน ในเวลา ๑๔.๓๐ สะพานจุฬาลงกรณ์จึงขาดใช้การไม่ได้ ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นต้องทำการซ่อมแซมสะพานให้ใช้การได้ โดยทำเป็นสะพานไม้ (ชั่วคราว) ซึ่งแรงงานเชลยศึกฝรั่งเป็นผู้สร้าง ต้นเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ การซ่อมแซมสะพานด้วยไม้แล้วเสร็จ ญี่ปุ่นได้นำหัวรถจักรไอน้ำมาทดลองวิ่งข้ามสะพาน จากฝั่งตลาดไปยังฝั่งทหาร วิ่งไปได้ค่อนสะพานเท่านั้น สะพานก็หักหัวรถจักรจึงตกลงไปในแม่น้ำแม่กลอง และจมอยู่ใต้น้ำตราบจนทุกวันนี้
                กรมการทหารช่างได้จัดชุดสำรวจใต้น้ำเพื่อพิสูจน์หลักฐานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ประกอบด้วย หัวรถจักรไอน้ำของกองทัพญี่ปุ่น และ ซากสิ่งอุปกรณ์ที่จมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลอง
                บริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ โดยปัจจุบันนี้ได้ติดตั้งทุ่นลอย สีส้มเพื่อแสดงตำแหน่งใช้เป็นสัญลักษณ์ มีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้.-
                วันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๗ เจ้ากรมการทหารช่าง ( พล.ท.ชัยยุทธ เทพยสุวรรณ ) ได้มีหนังสือถึงส่วนราชการต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดงานประเพณีลอยกระทงจังหวัดราชบุรี โดยเสนอแนวความคิด เกี่ยวกับการส่งเสริมยุทธศาสตร์จังหวัดราชบุรีด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดผลทางด้านเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี และเสนอแนะกิจกรรมทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การแสดง แสง สี เสียง ประกอบกับ หัวรถจักรไอน้ำของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งจะดำเนินการกู้ขึ้นมาพ้นน้ำทางด้านฝั่งกรมการทหารช่าง
                วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ ๑๑ (พันเอก คณิต แจ่มจันทรา) ได้นำชุดสำรวจใต้น้ำ จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย นายอนุพงษ์ พยัคฆ์ , นายดำรงค์ พยัคฆ์ , นายสุทธิ พยัคฆ์ และ นายสาโรจน์ พยัคฆ์ ดำเนินการสำรวจ พร้อมทั้ง กำหนดจุดหัวรถจักรไอน้ำของกองทัพญี่ปุ่น และ ซากสิ่งอุปกรณ์ โดยติดตั้งทุ่นลอยสีส้ม เพื่อแสดงตำแหน่งโดยได้ตรวจพบอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้.- หัวรถจักรไอน้ำ ๑ คัน(๔ จุด) , ลูกระเบิด ขนาด ๑,๐๐๐ ปอนด์ ๓ ลูก , กระจังหน้ารถจักร ๑ ชิ้น ,รางรถไฟ ๒ ชิ้น ล้อรถจักร ๑ ชิ้น
                วันพุธที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๘ เจ้ากรมการทหารช่างเดินทางพร้อมชุดสำรวจใต้น้ำ คณะผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายกเทศมนตรี นายกเหล่ากาชาด กำนันเรืองศักดิ์ฯ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี(สส.กอบกุลฯ) และ คณะข้าราชการส่วนต่างๆ ร่วมตรวจสถานที่บริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์เพื่อพิสูจน์ทราบ และบันทึกภาพถ่ายใต้น้ำของสิ่งอุปกรณ์และหัวรถจักรไอน้ำ โดยเจ้ากรมการทหารช่างได้ร่วมดำน้ำเพื่อสำรวจด้วย
                กรมการทหารช่างได้ประสานการปฏิบัติและร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ของการปฏิบัติการกู้หัวรถจักรไอน้ำกับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในความดูแลของกองทัพเรือ สังกัดกระทรวงกลาโหม โดยบริษัทได้เข้ามาดูสถานที่แล้วสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการ
                ข้อพิจารณา : วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน ( SWOT Analysis) ของการดำเนินการโครงการย้อนรอยทางรถไฟสายประวัติศาสตร์จังหวัดราชบุรี (ปฏิบัติการกู้หัวรถจักรไอน้ำ)
                จุดแข็ง ( Strengths ) มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่จริงซึ่งได้มีคณะทำงานพิสูจน์แล้ว อ้างอิงมาจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นแล้วสามารถนำเนื้อหาที่มีอยู่มาใช้ประชาสัมพันธ์ได้ จังหวัดมีส่วนราชการที่มีศักยภาพสูง คณะผู้บริหารของจังหวัดรวมทั้งผู้ดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการดำเนินการให้จังหวัดมุ่งสู่สากลได้ การคมนาคมเข้าสู่จังหวัดสะดวก มีตลาดน้ำดำเนินสะดวกซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เมื่อเดินทางมาท่องเที่ยวแล้วสามารถเดินทางต่อเพื่อมาชมหัวรถจักรไอน้ำโบราณ บริเวณที่จัดแสดงหัวรถจักร มีทัศนียภาพที่สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่แล้ว
                จุดอ่อน ( Weaknesses ) การประชาสัมพันธ์เรื่องราวตำนานหัวรถจักรไอน้ำยังไม่เพียงพอ ยังไม่มีแนวทางการหางบประมาณในการดำเนินการ เหตุการณ์นี้ผ่านมานานเกือบที่จะลืมเลือนไปจากความจำของชาวราชบุรีรุ่นใหม่

 

 

 
 
  
กรมการทหารช่าง          ค่ายภาณุรังษี
ต.โคกหม้อ  อ.เมือง  จ.ราชบุรี  70000
จัดทำ/เผยแพร่โดย ส่วนปฏิบัติการระบบเครือข่ายฯ  ศทท.กช.
webmaster  ::  kittikraimanee@gmail.com   ทบ. 53105