๑.ค่ายภาณุรังษี ที่ตั้ง ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ๗๐๐๐๐
หลักฐาน บันทึกข้อความ กปพ.ศวจ.บก.ทหารสูงสุด ที่ ๓/๐๔ ลง ๒๒ มี.ค. ๐๔
เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เนื่องจากค่ายทหารที่จังหวัดราชบุรีนั้นเดิมเป็นที่ตั้งของกองบัยชาการกองพลทหารบกที่ ๔ และ กรมทหารบกราบที่ ๔ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ และผู้ที่เกี่ยวข้อง และทำความเจริญให้แก่ค่ายนี้มากที่สุดก็คือ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็น นายทหารพิเศษ อยู่ในกรมทหารหน้า ซึ่งเป็นต้นรากของกรมทหารบกราบที่ ๔ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๑ และใน พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ ๔ จนกระทั่งเสด็จทิวงคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ซึ่งคิดเวลาที่ทรงเป็นนายทหารผู้ใหญ่อยู่ในกรมนี้ ถึง ๕๐ ปีเต็ม
รายละเอียดเพิ่มเติม....
๒.ค่ายบุรฉัตร ที่ตั้ง ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ๗๐๐๐๐
หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๙ และตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
เหตุผล เพื่อเทิดพระเกียรติพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร) ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่ทำคุณประโยชน์ไว้กับเหล่าทหารช่างอย่างนานัปการ จนได้ชื่อว่าเป็นพระบิดาของเหล่าทหารช่าง
รายละเอียดเพิ่มเติม....
๓.ค่ายศรีสุริยวงศ์ ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.พัฒนา 1 , กรม.พัฒนา 1 , พัน.พัฒนา 1 จว.ราชบุรี
รายละเอียดเพิ่มเติม...
๔.ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่ตั้งจังหวัดหน่วยทหาร ส.๑, ส.๑ พัน.๑๐๑, ส.๑ พัน.๑๐๒, พัน.ส.ชบร.เขตหลัง, ร้อย.สปอ ( สมุทรสาคร )
๕.ค่ายรามราชนิเวศน์ ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.พ.บ. ( เพชรบุรี )
๖. ค่ายเพชรบุรีราชศิรินธร ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๑ พัน.๓รอ. ( เพชรบุรี )
๗.ค่ายธนะรัชต์ ที่ตั้งหน่วยทหาร ศร., พล.ร.๑๕, รร.กสร.กสร.ทบ. (ประจวบคีรีขันธ์ )
๘.ค่ายสุรสีห์ ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ก.จ., พล.ร.๙ (กาญจนบุรี )
๙.ค่ายอดิศร ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ส.บ, ศม. (สระบุรี )
๑๐.ค่ายจักรพงษ์ ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๑๒, ร.๒ รอ., ร.๒ พัน.๑ รอ., ร.๒ พัน.๒ รอ. , ป.พัน. ๒ รอ. ,พัน.สห.๑๒ และ รพ.ค่ายจักรพงษ์
ที่ตั้ง ต.ดงพระราม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
รายละเอียดเพิ่มเติม....
๑๑.ค่ายสุรสิงหนาท ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๒ พัน.๓ รอ., จทบ.ส.ก. (สกลนคร )
๑๒.ค่ายพรหมโยธี ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๒ รอ., ร.๒ พัน.๓ รอ. (ปราจีนบุรี )
๑๓.ค่ายไพรีระย่อเดช ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๒ รอ., ร.๑๒ พัน.๑ รอ. (ปราจีนบุรี )
๑๔.ค่ายนิมมาณกลยุทธ ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๒ พัน.๒ รอ. (สกลนคร )
๑๕.ค่ายศรีโสธร ที่ตั้งหน่วยทหาร ช.พัน.๒ รอ. (ฉะเชิงเทรา)
๑๖.ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๑๑ (ฉะเชิงเทรา)
๑๗.ค่ายพหลโยธิน ที่ตั้งหน่วยทหาร ศป., ป.พัน.๓๑ รอ., ปตอ.พัน.๓ (ลพบุรี )
๑๘.ค่ายวชิราลงกรณ์ ที่ตั้งหน่วยทหาร รพศ.๑ (ลพบุรี )
๑๙.ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ตั้งหน่วยทหาร ศสพ., รพศ.๒ (ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี )
หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๙ และตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
เหตุผล เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้ทรงสร้างความเจริญแก่จังหวัดลพบุรี จนได้ชื่อว่าเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงในรัชกาลของพระองค์
รายละเอียดเพิ่มเติม....
๒๐.ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ที่ตั้งหน่วยทหาร ศบบ. (ลพบุรี )
รายละเอียดเพิ่มเติม...
๒๑.ค่ายนวมินทราชินี ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๑๔, ร.๒๑ รอ., ป.พัน.๒๑ รอ. (ชลบุรี )
๒๒.ค่ายทองฑีฆายุ ที่ตั้งหน่วยทหาร กส.ทบ. (นครปฐม )
หลักฐาน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานชื่อค่ายทหาร ลง 17 สิงหาคม 2535
รายละเอียดเพิ่มเติม...
๒๓.ค่ายจิรวิชิตสงคราม ที่ตั้งหน่วยทหาร ศอว.ทบ. (ลพบุรี )
๒๔.ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ที่ตั้งหน่วยทหาร บชร.๑, นขต.บชร.๑ (ชลบุรี )
๒๕.ค่ายพิบูลสงคราม ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ป., ป.๗๑, ป.๗๒ (ลพบุรี )
๒๖.ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๑๖ (ประจวบคีรีขันธ์ )
ค่ายทหารในพื้นที่ ทภ. ๒